LEO ส่งซิกการส่งออกนำเข้าและอัตราค่าระวางเริ่มพลิกฟื้น เดินหน้ารับรู้รายได้ขนส่งทางรางไปจีนตั้งแต่ไตรมาส 2/66 ลุยลงทุนธุรกิจใหม่ หนุนอนาคตเติบโต - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

LEO ส่งซิกการส่งออกนำเข้าและอัตราค่าระวางเริ่มพลิกฟื้น เดินหน้ารับรู้รายได้ขนส่งทางรางไปจีนตั้งแต่ไตรมาส 2/66 ลุยลงทุนธุรกิจใหม่ หนุนอนาคตเติบโต





 บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) ส่งซิกการส่งออกนำเข้าและอัตราค่าระวางเริ่มพลิกฟื้น และผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/66 จะมีการเติบโตมาขึ้นจากไตรมาส 1/66 จากการรับรู้รายได้ของการขนส่งสินค้าทางราง- การจัดหาและขายผลไม้ไปยังประเทศจีน อีกทั้งเดินหน้าลงทุนใน Cold Chain Logistics Center อัจฉริยะ ที่ท่าเรือสหไทย (PORT) มูลค่าการลงทุน 232 ล้านบาทและคาดว่าจะสร้างรายได้อย่างน้อย 800 ล้านบาทตลอดระยะเวลาของโครงการ  ร่วมทั้งรับรู้จากโครงการ JV และ M&A ของธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ ฟากซีอีโอ "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์"  ลุยขยายธุรกิจทุกมิติ ปักหมุด Gross Profit Margin เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15-20% เน้นลงทุนธุรกิจใหม่ที่เป็น Non Freight มีกำไรขั้นต้นสูงถึง 40-45% ผลักดันอนาคตโตก้าวกระโดด  

 

นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า ไตรมาส1/2566 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 332.3 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 19.0 ล้านบาท  เติบโตขึ้นจากไตรมาสที่ 4/65 คิดเป็นร้อยละ 153 โดยรายได้ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากบริษัทฯได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของอัตราค่าขนส่งทั้งทางเรือและทางอากาศทั่วโลกมากกว่า 10 เท่าจากช่วงปี 2565 รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงันของการการส่งออกและนำเข้าทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย ยูเครน และสภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงเป็นอย่างมาก ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 บริษัทมีฯ อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/2565 และ ไตรมาส 1/2565 ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 26%และ15% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯยังคงมีความสามารถและประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง  

 

ในปีนี้บริษัทฯ มั่นใจว่าจะยังคงรักษาระดับการทำกำไรขั้นต้น และผลประกอบการให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าอัตราค่าระวางและตัวเลขการนำเข้าและส่งออกของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงไตรมาสที่ 1/2566 ที่ผ่านมา และบริษัทได้เริ่มเห็นการปรับตัวขึ้นของค่าระวาง และการเติบโตของตัวเลขการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายเดือนเมษายน และบริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากการขนส่งสินค้าทางราง และ การจัดหาและขายสินค้าผลไม้ไปยังประเทศจีนผ่านบริษัท ลีโอ ซอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด  (LSSC) รวมถึงรับรู้รายได้ และกำไรจากโครงการ JV และ M&A  ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 นับตั้งแต่ไตรมาส 2 และ 3 เป็นต้นไป เพื่อสร้างการเติบโตทางรายได้และผลประกอบการของธุรกิจให้แข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง” 

 

นอกจากนี้  วันที่ 12 พฤษภาคม 2566  ที่ผ่านมา  ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ เข้าลงทุนในโครงการ Intelligent Cold Chain Logistics Center  ที่ท่าเรือสหไทย (Sahathai Terminal หรือ PORT )   โดยมูลค่าการลงทุนรวม 232 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าเช่าทรัพย์สินตลอดอายุสัญญารวม 72 ล้านบาท และเงินลงทุนในการพัฒนาโครงการจำนวน 160 ล้านบาท  การลงทุนของ LEO ในโครงการ Intelligent Cold Chain Logistics Center ที่ท่าเรือสหไทยนี้ เป็นการพัฒนาและต่อยอดในการขยายธุรกิจ Cold Chain Warehouse และ Integrated Logistics Services ของบริษัทฯ โดยคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมินี้จะใช้ระบบ Automation & Robot  ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะ เข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการลดต้นทุนเรื่องการหาบุคคลากรในระดับแรงงานที่นับวันก็จะยิ่งหายาก และยังทำให้บริษัทฯ สามารถให้บริการที่รวดเร็วและมีความแม่นยำและสนองตอบความต้องการของลูกค้า อีกหนึ่งจุดเด่นของ Intelligent Cold Chain Logistics Center ของ LEO แห่งนี้ก็คือที่ตั้งของโครงการได้รับการอนุมัติจากทางกรมศุลกากรให้เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องภาษีนำเข้าของการใช้คลังสินค้าทัณฑ์บนทุกประการ และยังเป็น Bonded Cold Chain Logistics Center ที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณ CBD ของกรุงเทพมหานครมากที่สุด จึงจะเป็นจุดแข็งที่สำคัญของโครงการนี้ในการให้บริการกับผู้นำเข้าสินค้าที่เป็นสินค้าแช่แข็งและควบคุมอุณหภูมิทุกประเภท ในการนำเข้าสินค้ามาเพื่อจัดเก็บและกระจายสินค้าให้กับซุปเปอร์มาร์เก็ตโรงแรม และร้านอาหารต่างๆในกรุงเทพและปริมณฑล  

 

นอกจากนี้บริษัทฯยังมีโครงการ JV กับ บริษัท เบาไทย อินเด็กซ์ แอสโซซิเอท จำกัด และ บริษัท ศรีตรังโลจิสติกส์ จำกัด  ที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของทางการรถไฟจีนในการทำการตลาดการขนส่งทางรางไทย-จีนภายใต้ บริษัท LaneXang Express Company Limited และธุรกิจอื่นๆ ที่จะทยอยเกิดขึ้นในปี 2566 นี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทั้งในด้านธุรกิจและรายได้อย่างก้าวกระโดดในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad