แกะรอย เจาะลึก กว่าจะเป็น “สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจกิจชุมชน” เตรียมอุดหนุนกันได้ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แกะรอย เจาะลึก กว่าจะเป็น “สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจกิจชุมชน” เตรียมอุดหนุนกันได้

คุณวนิดา จรูญเพ็ญ หัวหน้าส่วนทะเบียนสมาชิกและสิทธิประโยชน์   สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า จากการที่ สสว. ได้จับมือจับมือ 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.นเรศวร ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.วลัยลักษณ์ และม.สงขลานครินทร์ จัดตั้ง ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ หรือ Excellence Center ทั้งด้านเกษตร และด้านการพัฒนาชุมชน ครอบคลุม ภูมิภาค 8 แห่งทั่วประเทศ มุ่งหวังให้เป็นกลไกสำคัญตามแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ตั้งเป้ายกระดับองค์ความรู้ธุรกิจ 3,200 ราย อบรม Online และOffline พร้อมพัฒนาและให้คำปรึกษาถึงสถานที่แบบเจาะลึก ขยายช่องทางการตลาดให้กับวิสาหกิจไม่น้อยกว่า 400 ราย เพิ่มศักยภาพเพื่อต่อยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือสร้างบริการใหม่ๆ ไม่น้อยกว่า 40 วิสาหกิจ รวมกว่า 40 ผลิตภัณฑ์    / บริการ และผลักดันให้เกิดเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 1 เครือข่ายต่อ 1มหาวิทยาลัย ภายในปี 2562 

ขณะนี้ การดำเนินงานได้เสร็จสมบูรณ์ในส่วนแรก จึงได้จัดกิจกรรมแสดงผลงาน ภายใต้ชื่อ        “สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจกิจชุมชน & Product Champion 2019”  เริ่มต้นนำร่องด้วย    วิสาหกิจ มีแนวความคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่น่าทึ่ง และผ่านกระบวนการคิดอย่างรอบคอบ จริงจัง คิดนอกกรอบ  ได้แก่

  วิสาหกิจชุมชนขวัญธารา จ. น่าน  โดย   ธารารัตน์ ศรีจันทร์ดี เผยถึงแนวความคิดการทำเครื่องสำอางจากมะไฟจีน ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องสำอางหนึ่งเดียวที่พัฒนาผลไม้ท้องถิ่นคือ “มะไฟจีน” สมุนไพรที่ได้ชื่อว่า บ้านน้ำเกี๋ยน จ.น่านปลูกได้มากที่สุดในประเทศไทย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ตั้งแต่ดังเดิมคือทำผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น น้ำสมุนไพร แต่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขวัญธาราที่เกิดจากการรวมตัวของชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่อยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิด และชอบทำอะไรที่ไม่เหมือนใคร จึงคิด ค้นคว้า วิจัยและทดลองจนได้เครื่องสำอางที่ทำจากมะไฟจีนที่ดีต่อผิวพรรณ
                  “มะไฟจีนเป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดน่าน ดังเดิมคนนำไปทำน้ำบ๋วย น้ำมะไฟจีนบ้าง เรากลุ่มวิสาหกิจชุมชนขวัญธาราซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม 12 คนมีแนวคิดอยากเอาสมุนไพร จ.น่านมานำมาสร้างมูลค่า สร้างรายได้สู่ขุมชน โดยการคิดนอกกรอบ ทำอะไรที่คนอื่นไม่ทำกัน จึงคิดทำเครื่องสำอาง อาชีพหลักคือ ทำสวน เกษตรกร คนรุ่นใหม่ ที่อยากมาสร้างมูลค่า เราจะขายเรื่องราวเ สน่ห์ของน่าน ซึ่งต้องมีงานวิจัยรองรับ ทำทุกอย่างถูกวางตามหลักวิชาการทั้งหมด มีเลขจดแจ้ง ที่อย.กำหนดทุกตัว มีมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด 
               พัฒนาได้ ปี ซึ่งปัญหาการทำอะไรใหม่ ๆ มักยังไม่ได้การยอมรรับจากลูกค้า เพราะด้วยยังใหม่มาก พวกเธอจึงต้องเอางานวิจัยมารองรับ นำผู้เชี่ยวชาญมาสร้างการรับรู้แบรนด์จนผู้บริโภคยอมรับ อีก ปัญหาที่ SME หน้าใหม่ประสบคือ สมุนไพรมะไฟจีนออกผลเพียง 2-3 เดือนต่อปีเท่านั้นคือเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม คิดสเต็ปต่อไปหากสินค้าติดตลาด แล้วไม่มีมะไฟจีนมาลองรับ จึงต้องใช้องค์ความรู้วิชาการ ให้มหาวิทยาลัยอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.พะเยาและมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือต่าง ๆ ช่วยบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ และทำงานวิจัยค่อย ๆ ทำสารสลัดจากมะไฟจีนได้จึงเพียงพอต่อการทำผลิตภัณฑ์ลองรับกลุ่มลูกค้าปีต่อปี เพราะอยากให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ทุกปี 
                ด้าน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำมันมะพร้าวบ้านแสงอรุณ จ.ประจวบคีรีขันธ์   โดย คุณสำราญ สุจริตรักษ์ เผยว่า จุดแข็งที่ทำให้เขาได้รับคัดเลือกก็คือ การตอบแทนกลับคืนสู่สังคมด้วยการให้กลุ่มคนพิการในหมู่บ้านแสงอรุณ ทำกระปุกครีมบำรุงผิวจากเปลือกมะพร้าว ที่ช่วยอนุรักษ์โลกไม่ให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หมดแล้ว อีกทั้งเศษกะลามะพร้าวที่แตกหักยังสร้างอาชีพให้เด็ก ๆ ในละแวกหมู่บ้านได้นำไปประดิษฐ์เป็นเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านอีกด้วย     
   สำราญเล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นว่าที่บ้านปลูกมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองของทับสะแกให้น้ำกะทิที่เข้มข้นนับ 100 ไร่และปลูกแบบออแกนิคมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ต้องการประหยัดต้นทุนไม่ใช้สารเคมี ทำปุ๋ยหมักจากมูลไก่ มูลวัว มูลควายไว้ใช้เอง เปลือกมะพร้าวก็นำมาสับบดให้ละเอียดใช้ทำปุ๋ยได้ ปัจจุบันต่อยอดชักชวนและรวบรวมสมาชิกในกลุ่มได้ราว ๆ 30 คน 10 ครัวเรือน และให้ทุกครัวเรือนปลูกมะพร้าวปลอดสารทั้งหมด ซึ่งจะเป็นวิถีที่ยั่งยืนกว่า
   
“ 12 ปีแล้วที่เข้าไปช่วยพ่อแม่ต่อยอดการปลูกมะพร้าว เพราะดั้งเดิมรายได้ไม่พอกับรายง่าย เราจึงต้องพัฒนาสินค้า ดิฉันจบคณะศึกษาศาสตร์ เอกวิทยาศาสตร์จากรามคำแหง พอเรียนจบก็กลับมาช่วยพ่อแม่พัฒนา เพราะค่าเก็บ ค่าดูแลมะพร้าวถูกมากแต่ไม่มีการประกันราคามะพร้าว รายได้รายจ่ายไม่สมดุลกัน เราจึงคิดแปรรูป พอดีมีเทรนด์รักสุขภาพเข้ามา แต่คนไม่รู้จักน้ำมันมะพร้าวเท่าไหร่ ก็ต้องเริ่มปรึกษากับผู้รู้ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ให้ความรู้เรื่องน้ำมันมะพร้าวและการแปรรูปจึงนำองค์ความรู้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการสกัดเย็น สกัดเย็นคือการแปรรูปมะพร้าวเป็นน้ำมันมะพร้าวแต่ยังคงคุณค่าของมะพร้าวที่ดีเช่นกรดบอลิก วิตามินอี ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน เป็นหวัดบ่อย ๆ ช่วยได้ดี นอกจากกินยังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผม ทาผิวได้ด้วย ลองผิดลองถูกมาเรื่อย ๆ   นี่คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคแรก ๆ ได้รับเสียงรอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โชคดีที่เธอรู้จักคนรัสเซียจึงเป็นช่องทางในการส่งสินค้าไปขายที่รัสเซียเป็นประเทศแรก คอนเนคชั่นเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับโครงการ “สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจกิจชุมชน & Product Champion 2019”    เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมเครือข่ารัฐวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดผสาน สร้างสรรค์ มุ่งมั่น ซึ่งสสว.ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ Excellence Center สุดยอดความเป็นเลิศทางการเกษตรและวิสาหกิจชุมชน ในการพัฒนาและยกระดับธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนบนแนวคิดเสริมสร้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการการเรียนรู้ของชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาสร้างโอกาสและสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมีพลัง สร้างทั้งในระดับพื้นที่และในระดับจังหวัด  คาดหวังว่าจะสามารถส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับให้วิสาหกิจชุมชนไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งและมั่นคง พร้อมสำหรับการแข่งขันในยุค 4.0   ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับ 400 วิสาหกิจชุมชนที่  เพิ่มขึ้นร้อยละ 10  สร้างเม็ดเงินและรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ประมาณ 15,000,000 บาท
เพื่อทดสอบตลาดและขยายช่องทางให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้ร่วมโครงการฯ จัดทั้งสิ้น 4 ครั้ง โดยเป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ 15-18 สิงหาคม จัดโดย              ม.เชียงใหม่ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5-8 กันยายน จัดโดย ม.เทคโนโลยีสุรนารี และ       ม.แม่โจ้, 12-15 กันยายน จัดโดย ม.นเรศวร และ ม.วลัยลักษณ์ และ 19-22 กันยายน 2562 จัดโดย ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ ณ ลานเมืองสุขสยาม ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad