กรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยความสำเร็จกิจกรรมวันโอโซนสากลประจำปี 2564 ร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน เพราะ “โอโซนดี ชีวิตก็ดี” - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยความสำเร็จกิจกรรมวันโอโซนสากลประจำปี 2564 ร่วมมือกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน เพราะ “โอโซนดี ชีวิตก็ดี”

 


ในงานวันโอโซนสากล ประจำปี พ.ศ. 2564 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามพันธกิจของพิธีสารมอนทรีออลเพื่อดำเนินการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้จัดกิจกรรมวันโอโซนสากล โดยในปีนี้ใช้สโลแกน “โอโซนดี ชีวิตก็ดี” เพื่อสื่อสารให้กับประชาชนคนไทยได้รับรู้และรับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศโอโซน ทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

                                 


 

ดร.วิรัช วิฑูรย์เธียร ที่ปรึกษาด้านอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล กรมโรงงานอุตสาหกรรม  ผู้ซึ่งทำงานด้านอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอลทรีออลมามากว่ 30 ปี และอดีตเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมจากธนาคารโลก เปิดเผยว่า “ชั้นบรรยากาศโอโซน อยู่ระดับ 10 – 15 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตโดยเฉพาะ UVB และ ซึ่งรังสี UVB มีบางส่วนสามารถเล็ดลอดลงมายังพื้นโลกได้ และถ้าหากชั้นบรรยากาศโอโซนในชั้สตราโตสเฟียร์มีน้อยลง ก็จะยิ่งส่งผลให้ปริมาณรังสี UVB สามารถเข้ามายังโลกของเราได้มากขึ้น ถ้าชั้นบรรยากาศโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ ลดลงไปแค่  1% ก็จะเท่ากับว่าโอกาสที่เราจะได้รับรังสี UVB จะมากขึ้นถึง 2% โอกาสที่เราจะเป็นมะเร็งผิวหนังก็มีมากขึ้น 3 – 6และหากรังสี UVB เข้ามายังพื้นโลกได้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณ โดยเฉพาะกับผิวหนังมนุษย์นั้น รังสี UVB สามารถเข้ามาเปลี่ยน DNA ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรก็จะลดลง เพราะพืชเกิดผลกระทบในกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง ทำให้พืชเติบโตช้า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะอยู่ที่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ทำให้โลกเสียสมดุล

 


ด้วยเหตุนี้ หากเรายังไม่ช่วยกันปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน คาดว่าหลังจากปี 2030 มนุษย์จะเป็นมะเร็งผิวหนัง ซึ่งอาจจะมีมากขึ้นถึง 2 ล้านรายทั่วโลกต่อปี และยิ่งไปกว่านั้น สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกาประเมินว่าจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคตาต้อกระจก จากปี ค.ศ.1987 จนถึงปี ค.ศ. 2100 จะมีเพิ่มมากขึ้นกว่า 63 ล้านคนผลจากข้อมูลบ่งชี้ว่ากว่า 50ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาต้อกระจก จะนำไปสู่การตาบอดได้ในที่สุด และจากผลการศึกษา สถิติจากปี ค.ศ. 1987 – 2006 รังสี UV ที่ส่องลงมายังโลกมากเกินไป ยังทำให้สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเสื่อมสภาพเร็วขึ้น คาดว่ามูลค่าการสูญเสียมากกว่า 4.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

 

ภายในปี ค.ศ. 2070 ถ้าหากไม่มีพิธีสารมอนทรีออล โลกของเราก็ยังคงมีการใช้สารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) และสารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFC) สารเหล่านี้จะมีผลให้อุณหภูมิโลกอาจสูงเพิ่มขึ้นอีก องศาเซลเซียส เพราะสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนจะถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ  เกิดผลกระทบกับชั้นบรรยากาศโอโซน และส่งผลสืบเนื่องไปสู่สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนำไปสู่วิกฤติปัญหาต่างๆ อีกมากมาย ทั้งนี้การรณรงค์และดำเนินการในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ปัจจุบันมีการเลิกใช้สาราร์โรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) รวมทั้งลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFC) ไปแล้วกว่า 98.6% สำหรับ 1.4ที่เหลืออยู่ ก็คือสาร HCFC ที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันเลิกใช้ ในปี พ.ศ. 2573


 

ในส่วนของภาครัฐ ในประเทศไทย ได้ดำเนินการกิจกรรมห่วงใยโอโซนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2540 ประเทศไทยถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ที่มีกฎหมายห้ามไม่ให้มีการนำเข้าและใช้น้ำยาสาร CFC ในการผลิตตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน ถือเป็นก้าวสำคัญที่เราดำเนินการภายหลังจากประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเลิกใช้สาร CFC  ไปเพียง 1 ปี เท่านั้น และในปี 2541 ประเทศไทย ดำเนิน

โครงการครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศระบบซิลเลอร์ (Chiller) ซึ่งเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมโรงแรม และในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเชื่อมโยงการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน และปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เข้าไว้ด้วยกัน ก่อนที่จะมาเป็นที่สนใจของคนทั่วทั้งโลกในขณะนี้ และสิ่งสำคัญไปกว่านั้นประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่  หรือเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่เปลี่ยนสารทำความเย็น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้ำยาแอร์” จาก R22 มาเป็น R32 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง ไม่ทำลายชั้นโอโซน และยังทำให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยสามารถขยายกำลังการส่งออกเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นไปยังประเทศพัฒนาแล้วได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

ถึงแม้ว่าปัญหาชั้นบรรยากาศโอโซนจะดูเป็นเรื่องที่ไกลตัว  แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ใกล้ตัวเรามาก เช่น มะเร็งผิวหนัง ตาต้อกระจก หรือแม้กระทั่งสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และยังส่งผลกระทบในภาคเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจอีกด้วย ที่สำคัญการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซนเราทุกคนสามารถทำได้ด้วยการหมั่นดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ ให้ดี  มีการซ่อม บำรุงอย่างถูกวิธีโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ จะส่งผลให้อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราใช้งานได้นานขึ้น  ประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายได้ผลประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและต่อโลก เรียกว่า Win-Win ทั้งโลก ทั้งเรา"  ดร.วิรัช วิฑูรย์เธียร กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad