แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย เปิดคะแนน ‘การเงินที่เป็นธรรม’ 9 ธนาคาร เทียบนานาชาติ กสิกรไทย - ไทยพาณิชย์ - กรุงไทย ขึ้นท็อปลิสต์ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย เปิดคะแนน ‘การเงินที่เป็นธรรม’ 9 ธนาคาร เทียบนานาชาติ กสิกรไทย - ไทยพาณิชย์ - กรุงไทย ขึ้นท็อปลิสต์

กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2562 - แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เผย ผลการประเมินนโยบายของสถาบันการเงินในประเทศไทย ประจําปี 2562 โดยใช้แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด ‘การเงินที่เป็นธรรม’ ถูกใช้เพื่อผลักดันให้เกิด ‘การธนาคารที่ยั่งยืน’ มาแล้วใน ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกในลำดับที่ 10

เมื่อประเมินจากเนื้อหานโยบายและแนวปฏิบัติในการลงทุนและการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง พบว่าค่าเฉลี่ยจาก ธนาคารไทย ได้คะแนนเพียง 12.62% ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 46.86%

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าคณะวิจัย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย กล่าวว่า “คะแนนนี้สะท้อนว่าธนาคารไทยยังมีช่องทางที่จะพัฒนาได้อีกมาก โดยเฉพาะการออกนโยบายสินเชื่อที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ในแง่บวก ธนาคารหลายแห่งมีความตื่นตัวเรื่องสิทธิผู้บริโภคมากกว่าในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการให้บริการทางการเงินที่เป็นธรรม”

มาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง ใน 12 หัวข้อ ที่นำมาใช้ในการประเมินนโยบาย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทุจริตคอร์รัปชัน ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน ธรรมชาติ ภาษี อาวุธ การคุ้มครองผู้บริโภค การขยายบริการทางการเงิน การตอบแทน ความโปร่งใสและความรับผิด โดยธนาคารที่ขึ้นท็อปลิสต์ในสามอันดับแรก คือ ธนาคารกสิกรไทย 17.46% ธนาคารไทยพาณิชย์ 14.66% และธนาคารกรุงไทย 14.22%

เป็นที่น่าสนใจว่าจาก 9 ธนาคาร มีเพียงธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีนโยบายเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท่ามกลางกระแสการรณรงค์ลดโลกร้อนที่ผู้บริโภคเริ่มเห็นความสำคัญ อีกทั้งยังไม่มีธนาคารใดที่อยู่ในการประเมินนี้ได้รับคะแนนในหัวข้อธรรมชาติ ชี้ให้เห็นว่ายังขาดคำมั่นสัญญาว่าจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อผลกระทบทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านความเท่าเทียมทางเพศ ก็มีเพียงธนาคารกรุงเทพและธนาคารเกียรตินาคินที่ได้คะแนนเนื่องจากมีนโยบายที่ชัดเจน หรือแม้แต่ในด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นเรื่องพื้นฐานของสังคม ก็มีเพียงธนาคารกสิกรไทยและธนาคารไทยพาณิชย์เพียงสองแห่งที่มีนโยบายรับหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

ธนาคารที่อยู่ในการประเมินนี้ มีทั้งสิ้น แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ และธนาคารเกียรตินาคิน โดยเป็นการประเมินครั้งแรก ภายหลังการกำเนิด แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair FinanceThailand) ในปี 2561 ที่มีสมาชิกประกอบด้วยบริษัทวิจัย ป่าสาละ จำกัด และองค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิบูรณะนิเวศ มุ่งติดตามผลกระทบและความท้าทายของธุรกิจธนาคารต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค และผลักดันภาคธนาคารไทยให้ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ การธนาคารที่ยั่งยืน’ (Sustainable Banking) อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad