สภาธุรกิจฝรั่งเศส - ไทย จัดงานฟอรั่มธุรกิจเพื่อส่งเสริมความร่วมมือรอบด้าน - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สภาธุรกิจฝรั่งเศส - ไทย จัดงานฟอรั่มธุรกิจเพื่อส่งเสริมความร่วมมือรอบด้าน


สภาธุรกิจฝรั่งเศส - ไทย ร่วมกับคุณกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และสมาพันธ์นายจ้างแห่งฝรั่งเศส จัดงานประชุมสภา France - Thailand Business Forum ครั้งที่ 3 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่ง (Transport & Mobility) เศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) การลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยมีผู้นำภาครัฐและนักธุรกิจชั้นนำจากฝรั่งเศสและไทยเข้าร่วม

 

มร. ฟรองซัวส์ กอร์แบง ประธานร่วมสภาธุรกิจ ฝ่ายฝรั่งเศส รองประธานสมาพันธ์นายจ้างแห่งฝรั่งเศส กล่าวว่าฝรั่งเศสและไทยมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าที่แน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ซึ่งการมาเยือนของคณะผู้แทนภาคเอกชนฝรั่งเศสในครั้งนี้ก็เพื่อสำรวจโอกาสสำหรับความร่วมมือ รวมไปถึงการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงประเทศหนึ่ง เนื่องจากมีทรัพยากรมายหลากหลายด้าน และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่มีศักยภาพในการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งอาเซียนมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และขณะที่ด้านสหภาพยุโรปก็มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก

 

ที่ผ่านมามีบริษัทสัญชาติฝรั่งเศสหลายรายที่ทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จในไทย มีขีดความสามารถในการรองรับความต้องการของไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ขณะเดียวกันไทยยังต้องพัฒนาในเรื่องของผลิตผล คุณภาพของระบบการคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับฝรั่งเศสมีมูลค่าประมาณ 4,322.82 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เชื่อว่าหากทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกันจะสามารถประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และสำหรับการจัดงานนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดี ช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือและโอกาสการลงทุนระหว่างไทยและฝรั่งเศส ถึงแม้จะยังอยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แต่ก็ยังเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย

และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสและไทยได้ลงนามแผนแม่บท Roadmap 2020 - 2024 เพื่อร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีการลงนามเกี่ยวกับความร่วมมือ 4 ด้าน คือ ด้านการบิน (Aerospace) ด้านระบบรางและการขนส่งในเมือง (Railway & Urban Mobility) ด้านยานยนต์ (Automotive) และ ด้านการขนส่งทางทะเลและโลจิสติกส์ (Maritime & Logistics)

 

ซึ่งในช่วงแรกที่มีการเปิดตัวคณะผู้แทน (Delegation) มีบริษัทฝรั่งเศสสนใจเข้าร่วมเพียง 5 ราย แต่ขณะนี้ (มิถุนายน 2565) มีเพิ่มขึ้นเป็น 23 รายแล้ว เนื่องจากเล็งเห็นว่าไทยมีศักยภาพ แต่ทั้งนี้ต้องมีการลงทุนจากทั้ง 2 ฝ่ายในหลายๆ ด้าน อาทิ การแลกเปลี่ยนเครื่องมือ เทคโนโลยี และความรู้ ทีมงานของบริษัทฝรั่งเศสในไทยส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น (คนไทย) มีการถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี บริษัทฝรั่งเศสชั้นนำหลายรายมีจุดแข็งที่โดดเด่นในเรื่องของเทคโนโลยีด้านการคมนาคมขนส่ง มีความรู้ด้านคมนาคม พัฒนาระบบพลังงานไฮโดรเจนสำหรับรถไฟและรถบรรทุก ฝรั่งเศสจะช่วยไทยขับเคลื่อนนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy)”

 

มร.อาร์โนด์ เบียเลคกิ ประธาน คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้าต่างประเทศฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย และประธานบริหาร โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับการจัดฟอรั่มในครั้งนี้ สภานายจ้างฝรั่งเศสได้นำคณะนักธุรกิจฝรั่งเศสมาเยือนไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย หลังสถานการณ์การระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง ซึ่งเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมารัฐมนตรีของฝรั่งเศสและไทยได้ลงนามร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการแสวงหาโอกาสในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ การคมนาคม เมืองอัจฉริยะ พลังงานสะอาด อาหารและการเกษตร สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้ หลังจากที่มีตัวแทนรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศพูดคุยเรื่องนโยบายของรัฐบาลเพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนในประเทศไทยแล้ว ทางภาคเอกชนก็กำลังดูรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะมีโครงการอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างในการร่วมมือกับบริษัทฝรั่งเศสที่อยู่ในไทย ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทฝรั่งเศสทำธุรกิจในประเทศไทยราว 300 บริษัท

 

ประเทศไทยถือเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ เพราะมีทรัพยากรที่เพียบพร้อม เช่น ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม โลจิสติก นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ และมีการสนับสนุนที่ดีจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งขณะนี้ 23 บริษัทฝรั่งเศสที่สนใจร่วมลงทุนมีทั้งบริษัทที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว รวมทั้งบริษัทฝรั่งเศสที่กำลังสนใจมาลงทุนในไทย

 

นอกจากนี้ ในด้านการท่องเที่ยว ก่อนการระบาดของโควิด-19 นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสที่เดินทางมาไทยยู่ที่ 800,000 คน ต่อปี และในช่วงปีที่ผ่านมาที่เริ่มมีการผ่อนคลายการเดินทางข้ามประเทศแล้วก็มีอัตราการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยอยู่ที่ 15%”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad