Dow ร่วมต้านโลกร้อนกลางวิกฤตโควิด-19 ผนึกจิตอาสา ปลูกต้นไม้จากบ้านกว่า 7,000 ต้น - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Dow ร่วมต้านโลกร้อนกลางวิกฤตโควิด-19 ผนึกจิตอาสา ปลูกต้นไม้จากบ้านกว่า 7,000 ต้น

 


ระยอง 28 มิถุนายน 2564 – กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นบริษัทด้าน Materials science ชั้นนำของโลกที่มีความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน ร่วมกับพนักงานและประชาชนจิตอาสาปลูกต้นไม้จากบ้านเพื่อต้านโลกร้อน ผ่านกิจกรรม “1+1 ฉันปลูก Dow ปลูก ภายใต้แคมเปญ #รักษ์ป่าเลนลดโลกร้อน ในโครงการ Dow & Thailand Mangrove Alliance ซึ่ง ต้นที่ทุกคนปลูก Dow จะปลูกต้นโกงกางเพิ่มอีก ต้น ที่ป่าชายเลนปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่ง Dow ได้จัดให้มีการปลูกป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่องตลอด 13 ปี จากกิจกรรมในครั้งนี้ จิตอาสาได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จากที่บ้านทั้งสิ้น 3,523 ต้น โดย Dow จะปลูกต้นโกงกางสมทบอีก เท่าตัว ครอบคลุมพื้นที่ ไร่ รวมจำนวนต้นไม้ที่จิตอาสา และ Dow ร่วมกันปลูกเพื่อต้านโลกร้อนในครั้งนี้กว่า 7,000 ต้น

 

คุณฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับ Dow การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่ข้ออ้างที่พวกเราจะหยุดดูแลสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดและมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในปัจจุบัน เราอาจต้องเดินช้าลงกว่าเดิม แต่เราจะไม่หยุดก้าวเดินไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแน่นอน

Dow ตั้งเป้าการทำงานด้านความยั่งยืนในการช่วยลดปัญหาโลกร้อน หยุดขยะพลาสติกไม่ให้หลุดไปสู่สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมวงจรรีไซเคิล จึงได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature - IUCN) จัดตั้งและดำเนินโครงการ ดาว-เครือข่ายชายฝั่ง รักษ์พิทักษ์ป่าชายเลน เพื่อความยั่งยืน (Dow & Thailand Mangrove Alliance) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ดาวและเครือข่ายรักษ์ป่าชายเลนไทย ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวไทย-อันดามัน โดยมีปากน้ำประแส จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่นำร่องโครงการฯ ก่อนที่จะขยายผลไปยังป่าชายเลนที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ครอบคลุม 5 จังหวัดพื้นที่รวมกว่า 5,000 ไร่ ต่อไปตามแผนงาน 5 ปี (2563-2567) โดยมีเป้าหมายหลักในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และป้องกันขยะไหลลงสู่ทะเล ผ่านการยกระดับการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างครบวงจรและมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยจะวางระบบรวมทั้งสร้างเครือข่ายในการฟื้นฟูดูแลป่าชายเลนให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมอย่างสมดุล

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad