SIMAT เข้าสู่โหมดเติบโตรอบใหม่ ดัน “ฮินซิซึ” เข้าตลาดหุ้นปี 2565 เดินหน้าขยายงานไอที-ลดต้นทุน-กระจายความเสี่ยง - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

SIMAT เข้าสู่โหมดเติบโตรอบใหม่ ดัน “ฮินซิซึ” เข้าตลาดหุ้นปี 2565 เดินหน้าขยายงานไอที-ลดต้นทุน-กระจายความเสี่ยง

 


SIMAT วางแผนดัน “ฮินซิซึ” บริษัทในเครือเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นปี 2565 ระบุมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง-รายได้เติบโตดีต่อเนื่องฝ่ากระแสโควิดได้สบาย อานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้น/สงครามการค้าจีน-สหรัฐ หนุนออเดอร์เพิ่ม เตรียมแจกโชค! ผู้ถือหุ้น SIMAT รับ Pre-emptive offering  ทีมผู้บริหารชุดใหม่ส่งสัญญาณแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 64 ของ SIMAT เข้าสู่โหมดการเติบโตรอบใหม่ พร้อมเดินหน้าขยายงานด้านไอที/ลดต้นทุน หนุน Gross Profit Margin ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3/64

 

นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (SIMAT) เปิดเผยในงาน Opportunity Day ว่า  แนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2564 คาดว่า ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในส่วนของบริษัท ฮินซิซึ  (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย รายได้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวสูงขึ้นมาก ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นฐานลูกค้าหลักของ “ฮินซิซึ” โดยการเติบโตมาจากทั้งฐานลูกค้าเก่าและฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มแบรนด์สัญชาติเกาหลี

นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน (Trade War) ทำให้กลุ่มลูกค้าส่งคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สั่งสินค้าจากคู่แข่งในประเทศจีน

 

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อนำ "ฮินซิซึ" เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคาดว่า จะสามารถเข้าระดมทุนได้ภายในปี 2565 โดยผู้ถือหุ้น SIMAT จะได้รับสิทธิในการจัดสรรหุ้นเพื่อรักษาสิทธิ (Pre-emptive offering) ตามสัดส่วนการถือหุ้น

นายธีรวุฒิ ได้กล่าวต่อถึงแผนการดำเนินธุรกิจของ SIMAT ปีนี้ว่า ในส่วนธุรกิจวิศวกรรม  IT ยังคงเดินหน้าหางานใหม่เข้ามาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทีมบริหารจะเน้นไปที่การลดต้นทุนการดำเนินงานให้ต่ำลง เนื่องจากเป็นจุดที่สามารถปรับปรุงได้ง่าย และเห็นผลทางตัวเลขได้ทันที โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นต้นทุนที่ลดลงในไตรมาส 3/64 เป็นต้นไป

ในส่วนของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ภายใต้โครงการ SINET บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา กับบริษัท เอฟโอที เอ็มเอสโอ จำกัด (FOT) บริษัทในเครือเจริญเคเบิลทีวี เคเบิลทีวีอันดับ 1 ของประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในโครงการ SINET ในพื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น โดยเป็นการนำทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อยกระดับสินค้าหรือบริการทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณ ให้สามารถเกิดความได้เปรียบในการแข่งในตลาดได้

มั่นใจว่า การร่วมมือพัฒนาธุรกิจกับ FOT ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเจริญเคเบิลทีวี เคเบิลทีวีอันดับ 1 ของประเทศ ถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ Synergy ครั้งสำคัญ ในส่วนของการบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สามารถปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าได้สูงขึ้น การเสริมบริการเคเบิลทีวีที่มีช่องรายการในระบบดิจิทัลกว่า 150 ช่องรายการ รวมไปถึงการเพิ่มบริการจากทางเจริญเคเบิลทีวี ขณะที่ SINET เองก็มีโครงข่ายรองรับการให้เช่นเดียวกัน โดยเป็นการเพิ่มบริการระบบทีวีดิจิตอลระบบ IPTV Internet Leased Line หรือ Internet ในองค์กรสำหรับลูกค้ากลุ่ม Hospitality (โรงแรม โรงพยาบาล) ซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ทางโครงการ SINET มีพื้นที่บริการอยู่แล้ว และเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับเจริญเคเบิลทีวี ในการขยายพื้นที่ให้บริการไปยังจังหวัดหลักๆ ที่สำคัญของประเทศ ถือเป็นการผสานความแข็งแกร่งให้กับทั้งสององค์กรเข้าร่วมกัน”นายธีรวุฒิ กล่าวในที่สุด

 

 

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/64 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 175% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/63 ที่มีกำไร 6.2 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากรายได้และการทำกำไรที่ดีขึ้นของธุรกิจผลิตและจำหน่ายสติ๊กเกอร์และพิมพ์สกรีนแฝงควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์โทรคมนาคม (Silk screen) โดยมีการเติบโตทั้งจากฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มขึ้นจากลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ส่งผลให้รายได้รวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 255 ล้านบาท เติบโต 1% QoQ และกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 92 ล้านบาท เติบโต 9% QoQ

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/63 โดยกำไรสุทธิจะลดลง 38% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/63 ที่มีกำไร 27.8 ล้านบาท เนื่องจากในปี 63 ที่ผ่านมาบริษัทมีการรับรู้รายได้งานก่อสร้างและติดตั้งให้กับภาครัฐหลายโครงการ เช่นโครงการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในฟื้นที่ห่างไกล (USO net )ในระยะที่ 1 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอรับรู้รายได้จากโครงการ USO ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการบริการจัดการและบำรุงรักษาในระยะเวลาต่อเนื่อง 5 ปี โดยมีมูลค่าสัญญารวม 5 ปี กว่า 1,213 ล้านบาท

การดำเนินธุรกิจของ SIMAT ประกอบด้วย 1) ธุรกิจไอที โดยให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจรทั้งการจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการให้บริการบำรุงรักษาทั่วประเทศ ทั้งกับภาคเอกชนและภาครัฐ  2) ธุรกิจลาเบลและซิลค์สกรีน โดยให้บริการออกแบบ พัฒนา และแปรรูปสิ่งพิมพ์มีกาว สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการจัดหาและพัฒนาวัตถุดิบ และออกแบบกระบวนการผลิตให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามความต้องการของลูกค้า 3) ธุรกิจบรอดแบนด์ โดยให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber optic) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่นและเชียงใหม่ ภายใต้แบรนด์ "SINET"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad