เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขันแนวคิดการออกแบบในโครงการ "Reimagined: #BuiltWithPrecision" ผู้สร้างสรรค์ผลงานจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอินเดียคือผู้ชนะรางวัลสูงสุด - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศผลผู้ชนะการแข่งขันแนวคิดการออกแบบในโครงการ "Reimagined: #BuiltWithPrecision" ผู้สร้างสรรค์ผลงานจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอินเดียคือผู้ชนะรางวัลสูงสุด



 ·      ฮานิฟ อัลด์ไจดี จากประเทศอินโดนีเซียคว้ารางวัลชนะเลิศจากการทรานส์ฟอร์มสุสานรถไฟโบราณอย่างสร้างสรรค์ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน (co-living space)

·      ตัน หย่ง หลิน รองชนะเลิศจากประเทศมาเลเซียได้ฟื้นคืนสภาพให้กับเมืองที่เงียบสงบพร้อมไปกับการแสดงความยกย่องให้กับประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจอันยาวนาน ตลอดจนลักษณะที่โดดเด่นของตัวเมือง

·      เฟลวี แฮร์ริส และโรฮาน เออร์ส ผู้เข้าร่วมการแข่งขันชาวอินเดีย คว้าอันดับหนึ่งในประเภทความยั่งยืน (Sustainability)และการออกแบบ (Design) ตามลำดับ ขณะที่ นูร นาทราห์ เอ. จากประเทศมาเลเซียเป็นผู้ชนะในประเภทเทคโนโลยี

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน “Reimagined: #BuiltWithPrecision” ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยการแข่งขันที่มีระยะเวลา 30 วัน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 11 เมษายนจนถึง 10 พฤษภาคม 2023 นี้  ได้เชิญนักสร้างสรรค์ที่มีความสามารถ 12 คนจาก 6 ประเทศ มาแสดงความสามารถทั้งในแง่ของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ด้วยการใช้จินตนาการในการสรรค์สร้างสถานที่สำคัญ (Landmarks) ที่ได้มีการคัดเลือกไว้ล่วงหน้าขึ้นมาใหม่ (Reimagine) ผ่านการทำงานร่วมกับเดลล์ Precision เวิร์กสเตชั่น

ผลงานที่ส่งเข้าร่วมในการแข่งขันได้รับการพิจารณาและประเมินโดยคณะกรรมการตัดสินจากเดลล์ เทคโนโลยีส์ โดยจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คณะกรรมการตัดสินยังรวมถึง พอล คาร์เตอร์ รองประธาน กลุ่มธุรกิจไคลอันท์ โซลูชันส์ แครอล ลินเดลล์ รองประธานฝ่ายการตลาด และ วิเวียน ไท หัวหน้าฝ่ายกิจการสิ่งแวดล้อมโลกและความรับผิดชอบต่อการผลิต ในขณะที่ผู้ตัดสินระดับโลก ได้แก่ แพททริค โจนส์ ที่ปรึกษาอาวุโส ทีมธุรกิจเพื่อสังคม และ พอล  โดซ์ซี ผู้อำนวยการด้านออกแบบ Mobile Business Product และ IOT

การออกแบบได้รับการประเมินตามเกณฑ์การพิจารณาโดยมองถึงนวัตกรรมในภาพรวมของแนวคิดของผู้เข้าแข่งขัน ตลอดจนถึงคุณภาพในการออกแบบ ความโดดเด่นในการใช้เทคโนโลยี การผสมผสานแนวคิดด้านความยั่งยืน และความเกี่ยวเนื่องของคอนเซ็ปต์ในการออกแบบที่มีต่อบริบททางวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นนั้

ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสร้างทั้งแรงบันดาลใจและความประทับใจให้กับเราด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่แสนพิเศษของพวกเขา” พอล คาร์เตอร์ กล่าว “เดลล์ Precision เวิร์กสเตชั่น รวมเอาสิ่งที่ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมพร้อมเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ในความคิดให้มีชีวิตขึ้นมาได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมากที่ได้เห็นครีเอเตอร์เหล่านี้ดึงเอาลักษณะเฉพาะต่างๆ อันทรงพลังของเดลล์ Precision เวิร์กสเตชั่น มาใช้ในการขยับเขยื้อนกรอบจำกัดต่างๆของการออกแบบ เติมเต็มลมหายใจของชีวิตใหม่ให้กับสถานที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้ ผ่านคอนเซ็ปต์การออกแบบ พร้อมการมอบรูปลักษณ์ใหม่ในจินตนาการว่าสถานที่สำคัญเหล่านี้ควรเป็นอย่างไร และเกี่ยวเนื่องอย่างไรกับโลกในปัจจุบัน”

ฮานิฟ อัลด์ไจดี อายุ 24 ปี นักออกแบบสถาปัตยกรรมจากเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเลือกให้เป็น Overall Winner ของการแข่งขัน ด้วยการทำงานร่วมกับ Dell Precision 7670 mobile workstation ฮานิฟได้สร้างคอนเซ็ปต์การออกแบบภายใต้ชื่อ 'Collaborative and Co-Living Space' ซึ่งเป็นการจินตนาการเปลี่ยนแปลง (Reimagine) สุสานรถไฟเก่าแก่ขึ้นใหม่เพื่อให้กลายเป็นศูนย์กลางการอยู่อาศัยและการทำงานร่วมกันที่มีชีวิตชีวา ที่มาพร้อมกับองค์ประกอบต่างๆ ด้านไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด คอฟฟี่ช็อป ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเล่นกีฬาที่สามารถหลอมรวมเข้ากับตู้รถไฟได้อย่างสร้างสรรค์


Collaborative and Co-Living Space โดย ฮานิฟ อัลด์ใจดี 1.jpgCollaborative and Co-Living Space โดย ฮานิฟ อัลด์ใจดี 2.jpg


(ภาพซ้าย) สภาพดั้งเดิมของสุสานรถไฟที่สถานีรถไฟเพอร์วาคาตา (ภาพขวา) การทรานส์ฟอร์มสถานที่สำคัญของฮานิฟให้กลายเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน (Mixed-Use Development) สำหรับผู้คนจากทุกชนชั้นทางสังคม เศรษฐกิจ และเชื้อชาติ

 

ตัน หย่ง หลิน รองชนะเลิศการแข่งขัน เป็นช่างภาพและศิลปินดิจิทัล (Digital Artist) อายุ 27 ปีจากเมืองไซเบอร์จายา ประเทศมาเลเซีย ส่งคอนเซ็ปต์การออกแบบที่ชื่อ 'The Time Capsule' ในการนำเสนอการจินตนาการขึ้นใหม่ของเมืองประวัติศาสตร์ Papan Town อย่างมีจุดมุ่งหมาย หย่ง หลินไม่เพียงใช้ Dell Precision 7770 mobile workstation เพื่อฟื้นฟูอาคารต่างๆ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองให้กลับคืนสู่ความรุ่งเรืองในอดีตเท่านั้น หากแต่ยังยกระดับอาคารทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นให้เป็นคาเฟ่ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ และแกลเลอรี่แนวคิดของเขายังรวมถึงเรือนกระจกที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อปกป้องต้นไทรอันเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของ Papan Town เปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูเมืองเก่าแก่ให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดใจสำหรับทั้งคนในท้องถิ่นและผู้มาเยือน


14cd14f0-fd90-464b-ba2f-cb3c3add3f9b.jpg4a3ce801-f341-4f47-893a-e245e4c3c4fc.jpg

ผู้ชนะตามหมวดหมู่การออกแบบ

เดลล์ เทคโนโลยีส์ยังให้ความสำคัญแก่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนที่ไม่เพียงโดดเด่นในจุดแข็งด้านการออกแบบเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมถึงวิธีที่ใช้ในการผสานนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและองค์ประกอบด้านความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันในคอนเซ็ปต์รูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการจินตนาการเพื่อการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่

อีกสามผู้ชนะการแข่งขันที่ได้รับการคัดเลือกจากหมวดหมู่พิเศษ ได้แก่ ความยั่งยืน (Sustainability) การดีไซน์ (Design) และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad