ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ยังคงกังวลเรื่องยอดขายลดลง ในขณะที่ต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า วอนรัฐช่วยเหลือต้นทุนวัตถุดิบ สาธารณูปโภค และแรงงาน - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ยังคงกังวลเรื่องยอดขายลดลง ในขณะที่ต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า วอนรัฐช่วยเหลือต้นทุนวัตถุดิบ สาธารณูปโภค และแรงงาน

ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs ภาคการและบริการ (TSSI) ประจำเดือน มิถุนายน 2562 ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ จำนวน 1,400 ราย พบว่า ความเชื่อมั่นของ ผู้ประกอบการยังคงลดลงในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นผลจากความวิตกกังวลเรื่องกำไรและยอดขาย เห็นได้จาก ดัชนี TSSI ปัจจุบัน ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 81.8 ในเดือนมิถุนายน (ลดลงจากเดือนพฤษภาคม ที่ระดับ 87.2)  นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ในเกือบทุกสาขาธุรกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นของ SMEs ในภาคการค้าส่งลดเหลือ 87.0  ภาคการค้าปลีกลดเหลือ 83.0  ภาคบริการลดเหลือ 79.2 (ยกเว้นธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจสินค้าเกษตร และธุรกิจค้าปลีกสถานีบริการน้ำมันที่แม้ระดับความเชื่อมั่นปรับตัว เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ยังต่ำกว่าระดับ 100)  

นายสุวรรณชัย  โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า องค์ประกอบดัชนีด้านกำไรปรับตัวลดลงมากที่สุดมาอยู่ที่ระดับ 58.2 ในเดือนมิถุนายน (ลดลงจาก 71.0 ในเดือนพฤษภาคม) รองลงมาคือดัชนีองค์ประกอบด้านยอดจำหน่ายซึ่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 61.0 ในเดือนมิถุนายน (ลดลงจาก 70.8 ในเดือนพฤษภาคม) ระดับความเชื่อมั่นปัจจุบันของเดือนมิถุนายนที่ลดลง อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง และอยู่ในระดับ ต่ำกว่า 100 ในเกือบทุกสาขาสะท้อนให้เห็น ความเชื่อมั่นที่ยังหดตัว ผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากอำนาจซื้อของประชาชนที่หดตัว ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังไม่เป็นปกติ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยว เงินบาทที่แข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบความสามารถในการแข่งขัน  และบรรยากาศ เศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันปรับตัวในทิศทางลดลง”

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ TSSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (หรือเดือนกันยายน) ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 100.2 จุด (ลดลงจาก 100.8 จุด จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม) แต่ยังยืนเหนือ ระดับ 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคาดหวังว่าจะมีงบประมาณภาครัฐหรือเม็ดเงินจากมาตรการต่างๆ ตามที่ได้เคยหาเสียงไว้กระจายลงสู่พื้นที่  สำหรับความกังวลของผู้ประกอบการจากดัชนี TSSI ใน 3 เดือนข้างหน้า เป็นเรื่องยอดจำหน่าย ต้นทุน และการจ้างงาน เห็นได้จากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดจำหน่ายที่ลดลงมาที่ระดับ 101.4 จากผลสำรวจในเดือน มิถุนายน (ลดลงจาก ระดับ 103.0 จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม)  องค์ประกอบดัชนีด้านต้นทุนที่หดตัวลง เหลือ 86.8 (จากระดับ 88.4 จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม)  และองค์ประกอบดัชนีด้านการจ้างงานที่ หดตัวลงเหลือ 98.2 (จากระดับ 98.8 เมื่อเดือนพฤษภาคม)

นายสุวรรณชัยยังกล่าวต่อไปว่า ผลสำรวจระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ยังต้องการให้รัฐช่วยแก้ไขใน 5 เรื่อง ได้แก่ ช่วยแก้ไขปัญหาค่าวัตถุดิบ การสร้าง เครือข่ายหรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรวมตัวกัน (ร้อยละ 54.14) เป็นตัวกลางจัดหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูก (ร้อยละ 45.65) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในทุกภาคธุรกิจให้ความเห็นว่าการสร้างเครือข่ายให้ผู้ประกอบการ มีความสำคัญมาก  ยกเว้นผู้ประกอบการค้าส่งที่เห็นว่าการให้ภาครัฐเป็นตัวกลางจัดหาวัตถุดิบมีความสำคัญกว่า

การช่วยแก้ไขปัญหาค่าสาธารณูปโภค ด้วยการส่งเสริมให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน (ร้อยละ 35.12) สนับสนุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำให้ธุรกิจ (ร้อยละ 34.55) ให้ความรู้ในการบริหารจัดการใช้สาธารณูปโภค อย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 30.26)  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสำคัญกับ การบริหารจัดการการใช้สาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนผู้ประกอบการกรุงเทพ ปริมณฑล และภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบกิจการภาคค้าส่งและค้าปลีกให้ความสำคัญกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ให้ธุรกิจมากกว่า
การช่วยแก้ไขปัญหาราคาเชื้อเพลิง ด้วยการเป็นตัวกลางจัดหาเชื้อเพลิงราคาถูก (ร้อยละ 50.04) และสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์/เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน (ร้อยละ 49.60)  
ช่วยแก้ไขปัญหาค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพแรงงาน (ร้อยละ 37.18) สนับสนุนเงินทุนสวัสดิการให้แรงงาน (ร้อยละ 33.12)  สนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโยลีเพื่อลดการใช้แรงงาน (ร้อยละ 29.61)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงต้องการให้รัฐช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของกิจการ ด้วยวิธีการที่ หลากหลาย ทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 24.91)  การปล่อยสินเชื่อเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ร้อยละ 22.52)  การปรับลดเงื่อนไขการกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก (ร้อยละ 22.16)  การงดเว้นหรือ ลดค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ (ร้อยละ 17.46)  การสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารจัดการทางการเงิน (ร้อยละ 12.94)   ในขณะที่การยกเว้นภาษีมีผู้เห็นด้วยเพียงร้อยละ 0.02

“ผู้ประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และผู้ประกอบการค้าปลีก มีความเห็นว่าการปรับลดเงื่อนไขการยื่นกู้สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กมีความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่ ผู้ประกอบการภาคใต้เห็นว่าการให้สินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยคงที่มีความสำคัญกว่า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad