PLANET ตอกย้ำผู้นำด้านเทคโนโลยี เซ็น MOU บริหารศูนย์นวัตกรรมขั้นสูง ในอีอีซี มูลค่ารวม 5 พันลบ. - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2565

PLANET ตอกย้ำผู้นำด้านเทคโนโลยี เซ็น MOU บริหารศูนย์นวัตกรรมขั้นสูง ในอีอีซี มูลค่ารวม 5 พันลบ.

 


PLANET ตอกย้ำผู้นำด้านเทคโนโลยี เซ็น MOU บริหารโครงการ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง (EEC SILICON TECHNOLOGY PARK) มูลค่ารวม 5 พันลบ. ชูเป็นต้นแบบเมืองดิจิทัล (Digital City) ที่ล้ำสมัยที่สุด รองรับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ได้เข้ามามาลงทุนวิจัยพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีขั้นสูงต่อยอดธุรกิจ ในพื้นที่อีอีซี


                นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ กรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท ซิลิคอน เทคโนโลยี่ พาร์ค จำกัด เพื่อการก่อสร้างและพัฒนาโครงการศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง หรือ EEC SILICON TECH PARK (EECTP) โดยมอบหมายให้บริษัท แพลนเน็ตยูทิลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและสร้างต้นแบบเมืองดิจิทัล (Digital City) ที่ล้ำสมัยที่สุด เพื่อดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK
                ทั้งนี้ บริษัทฯ จะมีรายได้จากค่าดำเนินการในการบริหารโครงการร้อยละ 10 ของมูลค่าโครงการในแต่ละเฟส โดยมูลค่ารวมของโครงการรวม 3 เฟส ประมาณ 5,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเฟสแรกได้เริ่มดำเนินการแล้วในปี 2565 นี้ มูลค่าราว 500 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจะสามารถเพิ่มโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์ดิจิทัล (Digital Product) ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสื่อสารให้แก่ลูกค้าในทั้งกลุ่มภาครัฐ และภาคเอกชนได้เพิ่มขึ้น
                สำหรับ ต้นแบบเมืองดิจิทัล (Digital City) ที่จะดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ดังกล่าว ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 6 ด้าน คือ 1.ระบบสื่อสารมั่นคง (Telecom High Availability) ที่มีระบบสื่อสารสำรอง ทำให้เชื่อมต่อได้ตลอดเวลา 2.ระบบไฟฟ้ามั่นคง (Electricity High Availability) มีระบบไฟฟ้าสำรอง ทำให้มีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา 3.น้ำประปาที่มีคุณภาพดื่มได้ทันที (Clean Water Supply) 4.อากาศที่ไร้มลพิษ (No Air Pollution) 5.ความปลอดภัยทางชีวิต ทรัพย์สิน และข้อมูล (Security/CSOC) และ 6.การบริหารสิ่งปฏิกูล (Waste Management)
                โดยโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 6 ด้านดังกล่าวนั้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) อาทิเช่น Cloud Computing, Ai/Analytic, IoT, Twin Digital, and GIS  ในการควบคุมและตรวจสอบผ่านศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center) โครงการนี้มี 3 เป้าหมายหลัก คือ เพื่อลดโลกร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
               

“ บริษัทฯจะนำเทคโนโลยีด้านดิจิทั
ลล่าสุด มาใช้ในโครงการนี้ เพื่อให้ที่นี่เป็นต้นแบบของเมืองดิจิทัล (Digital City) ที่มีระบบโครงสร้างพื้นที่ที่ดีที่สุดในทุกด้าน อาทิ ด้านเทคโนโลยีด้าน Telecom ที่จะมีโครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะ (Smart networks) อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสุด ทั้ง 5G , Fiber Optic, และดาวเทียม  ระบบน้ำ-ไฟอัจฉริยะ ที่เน้นมาจากพลังงานสะอาด จนถึงสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) สำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยะมีศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะที่ควบคุมระบบโครงสร้างพื้นฐานทุกด้านในโครงการนี้ทั้งหมด ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และจะเป็นต้นแบบให้หน่วยงานราชการหรือเอกชนได้มาเยี่ยมชม เพื่อพิจารณานำไปใช้ในอนาคต” นายประพัฒน์กล่าว                                   นายณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ประธานกรรมการบริษัท ซิลิคอน เทคโนโลยี่ พาร์ค จำกัด  เปิดเผยว่า ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง (EEC SILICON TECHNOLOGY PARK) ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) คือแผนยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
                โดยศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ จะเป็นเครื่องมือตามนโยบายและโครงสร้างพื้นที่ฐานสำคัญที่ช่วยสนับสนุนภาพเอกชนในการลงทุนพัฒนาเพื่อนำพาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่สมดุลและยั่งยืน โดยช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ของประเทศไทยให้เข้มแข็งและเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมภาคการศึกษาและการวิจัยภาครัฐและภาคชุมชนท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต  
                อนึ่ง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม 6 แห่ง ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อเพิ่มจุดแข็งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และรองรับการลงทุนในอนาคต เนื่องจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มีพื้นที่รับรองการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและการค้า จำนวน 15,836 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปี จึงต้องจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้น 6 แห่ง แบ่งเป็น อุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 6,884 ไร่
              และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง มีพื้นที่รวม 519 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและกิจการที่เกี่ยวข้องไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะกำหนดพื้นที่นำร่องของอีอีซีในการพัฒนาระบบโครงข่าย 5G เต็มรูปแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad