วิศวะมหิดล ยกระดับวิศวกรรมก่อสร้างไทยสู่ระดับโลก...ผนึกความร่วมมือ 4 องค์กร วิจัยพัฒนา Green Construction ในโครงการ SALAYA ONE - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

วิศวะมหิดล ยกระดับวิศวกรรมก่อสร้างไทยสู่ระดับโลก...ผนึกความร่วมมือ 4 องค์กร วิจัยพัฒนา Green Construction ในโครงการ SALAYA ONE



 

วิศวกรรมโยธาไทยสู่ระดับโลก... คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ ผศ.ดร. ณวัชร สุรินทร์กุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือวิจัย เรื่อง Innovation & Construction Technology มุ่งสู่ Green Construction ในโครงการ SALAYA ONE โดยมี ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการแทนรองคณบดี ร่วมแถลงข่าวการลงนาม กับ 4 องค์กรชั้นนำด้านวิศวกรรม ประกอบด้วย บริษัท มีนำ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดย คุณเดชา ตั้งสิน ประธานกรรมการบริหาร, บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จำกัด โดย รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกรรมการบริหาร, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โดย คุณสุรชัย จบศรี กรรมการผู้จัดการ SMART Structure และ คุณวิภานุ อินทรสมพงค์, บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด โดย นายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล กรรมการผู้จัดการ ณ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 


รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ 
คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า การผนึกความร่วมมือ MOU ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับการศึกษาวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมโยธาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย สู่เป้าหมาย Green Construction ซึ่งนำระบบหุ่นยนต์และเทคโนโลยีวิศวกรรมหลายสาขาอันก้าวหน้ามาใช้ในโครงการ SALAYA ONE ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมมิกซ์ยูสระดับพรีเมียม 3 อาคาร 8 ชั้น ประกอบด้วยโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ไลฟ์สไตล์มอล พร้อมทั้งยกระดับการทำงานก่อสร้างในทุกขั้นตอนด้วยนวัตกรรม อาทิ BIM-Building Information Model, การผลิตชิ้นงานจาก 3D Printing, การใช้ระบบหุ่นยนต์ในการตรวจสอบวิเคราะห์การแก้ปัญหา หรือ Robotic Inspection Supervision, Loop Construction & Lab Room เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิศวกรรมระดับโลก ลดระยะเวลาทำงาน ลดปริมาณของเสียในกระบวนการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโครงการและชุมชนรอบข้าง รวมทั้งส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาโดยทีมนักวิจัยและการเรียนรู้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เปิดกว้างในการพัฒนาและต่อยอดโซลูชั่นร่วมกัน เพื่อประโยชน์ต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ สิ่งแวดล้อม ชุมชนสังคม และเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad