ไทยเบฟเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมตั้งมั่นสรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth) - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

ไทยเบฟเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมตั้งมั่นสรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth)

 


  • ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583

กรุงเทพฯ วันที่ 27 กันยายน 2022 – บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่ม”) ประกาศ
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งโครงการและเป้าหมายที่ชัดเจนด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาธิบาล ซึ่งรวมถึงการตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583

กลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้ไทยเบฟสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกับเสริมความแข็งแกร่งของ
กลุ่มธุรกิจ รวมถึงปกป้องสิ่งแวดล้อม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น และยกระดับการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล นอกจากนี้ยังเป็นการเน้นย้ำเป้าหมายของกลุ่มที่จะสรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth) ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจในไทยและในภูมิภาค

ไทยเบฟนำธุรกิจของกลุ่มฝ่าฟันอุปสรรคผ่านช่วงเวลา 2 ปีที่โควิด-19 ระบาดหนักมาได้สำเร็จ และยังมี
ผลประกอบการแข็งแกร่งทั้งในด้านการเงินและการดำเนินงานในงวด 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 (“9M22”) ท่ามกลางความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย PASSION 2025 ตามพันธกิจ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” ไทยเบฟมุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และบุคลากรของกลุ่ม


นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า “ไทยเบฟมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งแม้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากโควิด-19 โดยในปีนี้ ประเทศไทยและเวียดนามซึ่งเป็นตลาดหลักทั้งสองแห่งของเรา ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดด้านการเดินทางระหว่างประเทศและมาตรการทางสังคม นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้บริโภคกลับมารับประทานอาหารภายในร้านได้ตามเดิม ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และการบริโภคกลับมาฟื้นตัว โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยให้รายได้และกำไรของกลุ่มเติบโตขึ้น ดังที่ได้เห็นจากผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของเรา

ถึงแม้การได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกตินั้นจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เรายังต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ จากภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคในครัวเรือน โดยเราจะยังคงดำเนินมาตรการบริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป เพื่อให้กลุ่มมีความพร้อมรับมือกับแรงกดดันเหล่านี้ และด้วยรากฐานอันมั่นคงของไทยเบฟ เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ได้อย่างมั่นคงและหนักแน่น แม้ช่วงเวลาอันเลวร้ายที่สุดของการระบาดของโควิด-19 จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่เราจะไม่นิ่งนอนใจ เราจะมุ่งมั่นเสริมสร้างธุรกิจและเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงิน พร้อมทั้งดูแลและปกป้องบุคลากรของเราทั้งในด้านสุขภาพและความปลอดภัย

ขณะเดียวกัน เรายังมุ่งมั่นสรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth) ด้วยการตั้งเป้าหมายเพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”

ในช่วงที่มีการใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ไทยเบฟได้ปรับวิธีการดำเนินงานอย่างรวดเร็วและใช้มาตรการควบคุมต้นทุนเพื่อลดผลกระทบจากการปิดร้านอาหารและสถานบันเทิงชั่วคราวที่ส่งผลต่อ
การบริโภค สายธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มได้มุ่งเน้นใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มมูลค่าของตราสินค้าในพื้นที่ขายด้วยการจัดกิจกรรมโฆษณาและส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น รวมทั้งพัฒนาส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ และดำเนินแผนการปฏิบัติงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


หลังจากประเทศไทยและเวียดนามยกเลิกข้อจำกัดด้านสังคมและการเดินทางระหว่างประเทศ กิจกรรมทางสังคมก็เริ่มฟื้นตัว ประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยวกลับมารับประทานอาหารในร้านและพบปะสังสรรค์กันอีกครั้ง โดยปริมาณขายของกลุ่มเพิ่มขึ้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 นอกจากนี้ การรับประทานอาหารในร้านอาหารภายใต้กลุ่มธุรกิจอาหารของเราก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้รายได้จากการขายในช่วง 9 เดือนแรกของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็น 207,922 ล้านบาท ซึ่งถือว่ารายได้จากการขายในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้สูงกว่าตัวเลขในช่วงเดียวกันของสามปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ของตลาดกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและการบริหารตราสินค้าของเราประสบความสำเร็จ  กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็น 39,110 ล้านบาท โดยภาพรวม สถานะการเงินของกลุ่มยังแข็งแกร่ง โดยมีเสถียรภาพของกระแสเงินสดอิสระที่ดี และมีความพยายามลดหนี้ลงอย่างต่อเนื่อง


ประเด็นสำคัญของกลุ่มธุรกิจ

ธุรกิจสุรา 

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา กล่าวว่า “ในปีนี้ภาพรวมของกลุ่มธุรกิจสุราในประเทศยังคงมีความแข็งแกร่ง และสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้ดี โดยรวงข้าวยังคงเป็นสุราขาวอันดับหนึ่ง ควบคู่กับหงส์ทอง สุราสีอันดับหนึ่งของประเทศไทย หากดูผลการวิจัยช่วง 12 เดือนย้อนหลัง แสงโสมสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 9 เนื่องจากความแข็งแรงของตราสินค้า ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในประเทศไทยฟื้นตัว ซึ่งมีส่วนช่วยให้ตลาดสุรา โดยเฉพาะสุราสีในประเทศไทยปรับตัวดีขึ้น ในส่วนของธุรกิจในประเทศเมียนมา แม้ว่าสถานการณ์ในเมียนมาช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทาย แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป ยังมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งและสามารถครองตำแหน่งวิสกี้อันดับหนึ่งใน
เมียนมาไว้ได้ รวมถึงมีเสถียรภาพของกระแสเงินสดที่ดี”


ธุรกิจเบียร์

นายไมเคิล ไชน์ ฮิน ฟา ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า “เรามีความภูมิใจที่จะรายงานว่าผลประกอบการของธุรกิจเบียร์มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม โดยรายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจเบียร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 92,573 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งฟื้นตัวดีขึ้นในตลาดหลักทั้งสองแห่ง” 

ธุรกิจเบียร์มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 เป็น 13,446 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขายและส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ที่เอื้ออำนวย รวมถึงการขึ้นราคาและมาตรการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สายธุรกิจเบียร์ ประเทศไทย

นายเลสเตอร์ ตัน เต็ก ชวน ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ธุรกิจเบียร์ในประเทศไทย มีผลประกอบการดีขึ้น เนื่องจากการบริโภคในร้านและกิจกรรมการตลาด เช่น คอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ
ได้รับอนุญาตให้กลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยธุรกิจเบียร์ในไทยยังมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางความพยายามในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มสินค้าระดับ Mass Premium อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัว Chang Cold Brew ในเดือนตุลาคม 2562 และ Change Espresso Lager ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่ง Chang Cold Brew ได้ตอกย้ำความสำเร็จด้วยการเป็นตราสินค้าเบียร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มสินค้าระดับ Mass Premium และขึ้นมาเป็นตราสินค้าเบียร์อันดับ 5 ของไทยได้ภายใน 1 ปี นอกจากนี้เรายังวางแผนอนาคตด้วยการบริหารตลาดแบบเจาะรายพื้นที่ในเชิงรุก และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น”

สายธุรกิจเบียร์ ประเทศเวียดนาม

นายเบนเน็ตต์ เนียว กิม เซียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซาเบโก้ กล่าวว่า “การที่เวียดนามกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งช่วยให้การบริโภคฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้ซาเบโก้มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งและมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนด้วยตราสินค้าของซาเบโก้ที่มีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเราทุ่มศักยภาพเพื่อสริมความแข็งแกร่งให้กับ Bia Saigon ในฐานะตราสินค้าที่เป็นความภาคภูมิใจของเวียดนาม ด้วยการเปิดตัว Bia Saigon Lager รุ่นลิมิเต็ดสำหรับเทศกาล Tet ปี 2565 ที่นำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดในเวียดนามมาออกแบบเป็นลวดลายกระป๋อง 63 แบบ นอกจากนี้เรายังดำเนินแผนงานซาเบโก้ 4.0 อย่างต่อเนื่องซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในแผนกลยุทธ์หลักของเรา โดยมุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานผ่านการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization) การลดความซับซ้อน (Simplification) และการสร้างมาตรฐาน (Standardization)”

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ซาเบโก้ได้ขยายการลงทุนเพื่อสนับสนุนด้านกีฬาและทีมฟุตบอลทีมชาติของเวียดนาม โดยล่าสุด บริษัทเป็นผู้สนับสนุนระดับ Diamond ให้กับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ประจำปี 2565 และได้เปิดตัว Bia Saigon กระป๋องสีทองรุ่นพิเศษสำหรับซีเกมส์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเปิดตัว Bia Saigon Special โฉมใหม่ในเดือนเมษายน 2565 โดยปรับรสชาติใหม่และปรับเปลี่ยนโฉมบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีความน่าสนใจตามรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ความมุ่งมั่นของซาเบโก้ที่มีมาอย่างยาวนานต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรืองทั้งของประเทศและประชาชนชาวเวียดนาม กลายเป็นที่ประจักษ์เมื่อซาเบโก้ได้รับเกียรติในฐานะบริษัทเครื่องดื่มแห่งแรก ให้ได้รับรางวัล Vietnam Glory Awards ประจำปี 2565 จากการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม โดยในช่วงการระบาดของโควิด-19 ซาเบโก้ยังคงว่าจ้างพนักงานของบริษัทกว่า 9,000 คน และร่วมสร้างรายได้เข้างบประมาณของรัฐเกือบ 435 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนชุมชนทั่วประเทศด้วยการบริจาคเงินจำนวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านการจัดโครงการต่างๆ เช่น Rise with Vietnam, Collecting Millions of Stars และ Tet-One Home


ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มีรายได้จากการขายในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 เป็นจำนวน 12,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ท่ามกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เป็น 1,717 ล้านบาท 

นายโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานดิจิทัลและเทคโนโลยี กล่าวว่า “ช่องทางการบริโภคในร้านอาหารกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากผู้บริโภคกลับมารับประทานอาหารในร้านกันอีกครั้ง นอกจากนี้ เรายังเห็นโอกาสและได้ดำเนินการเพื่อจับกระแสของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีน้ำตาลน้อยและไม่มีน้ำตาลหรือพลังงาน รวมทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) ที่ผ่านการรับรองอีกด้วย 

นอกจากนี้เรายังออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งรวมถึง “ZEA Tuna Essence” ซุปปลาทูน่าสกัดที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และวิตามิน B12 ซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาทและการทำงานของสมอง และ “Oishi Honey Lemon 0% Sugar”
ซึ่งมียอดขายเติบโตถึงร้อยละ 70 นับตั้งแต่เปิดตัวและยังช่วยผลักดันยอดขายในตลาดชาพร้อมดื่มให้มากยิ่งขึ้น โออิชิยังคงครองตลาดชาพร้อมดื่มและมุ่งมั่นขยายความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำอย่างต่อเนื่องผ่านแคมเปญทางการตลาดต่างๆ โดยหนึ่งในแคมเปญที่ประสบความสำเร็จอย่าง โออิชิ x ดาบพิฆาตอสูร ช่วยสร้างโอกาสให้เราได้เป็นอย่างดีในช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้ง นอกจากนี้ ยอดขายส่งออกของโออิชิยังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาวะตลาดที่ท้าทาย อีกทั้งยังสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดกัมพูชาและลาวไว้ได้”


ธุรกิจอาหาร

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ธุรกิจอาหารมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 11,990 ล้านบาท เนื่องจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในร้านอาหาร และการขับเคลื่อนการดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสามารถในการเจาะตลาดและเข้าถึงลูกค้า รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของร้านอาหารในกลุ่มธุรกิจอาหาร ทำให้ธุรกิจมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี (EBITDA) เป็นจำนวน 1,578 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจอาหาร ประเทศไทย กล่าวว่า “เราได้รับประโยชน์จากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ กลับมาดำเนินการได้อีกครั้งหลังจากการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ช่วงโควิด-19 ทำให้ลูกค้าสามารถกลับมารับประทานในร้านอาหารได้ และถึงแม้จะมีการรับประทานในร้านมากขึ้น แต่ยอดขายของบริการส่งอาหารถึงบ้าน (home delivery) ก็ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เรายังเดินหน้าผลักดันการเจาะตลาดและการเข้าถึงลูกค้า ด้วยการเพิ่มจำนวนสาขาร้านอาหาร โดยเปิดเป็นร้านที่มีขนาดเล็กลงและใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก รวมถึงมุ่งเน้นการเปิดร้านนอกห้างสรรพสินค้ามากยิ่งขึ้น

ในปี 2565 กลุ่มธุรกิจได้เสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้าร้านอาหารหลักที่มีอยู่ด้วยแนวคิดใหม่ๆ โดยเปิดตัวร้าน OISHI BIZTORO ภายใต้แนวคิด “ทางเลือกความอร่อยง่ายๆ สไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น” โดยเน้นเมนูอาหารที่คุ้มค่าคุ้มราคาและตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ยังได้เปิดตัวร้าน Shabu by Oishi ซึ่งเป็นร้านชาบูแบบเลือกสั่งเป็นจาน (A La Carte) ที่นำเสนอวัตถุดิบคุณภาพดีและประสบการณ์ใหม่ๆ แก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารรูปแบบใหม่อย่าง KFC & Oishi Food Truck กับ KFC ที่สามารถสั่งได้ผ่านตู้ Kiosk และร้าน Oishi To Go เพื่อจับฐานผู้บริโภคกลุ่มใหม่ซึ่งชื่นชอบความสะดวกและรวดเร็ว ในปีนี้ กลุ่มธุรกิจอาหารได้มุ่งเน้นพัฒนาด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินงานของธุรกิจ โดยเน้นการกลับไปที่หลักการพื้นฐาน (Back to Basics) เช่น การพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพและศักยภาพในการทำงานของพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะสร้างผลกำไรได้อย่างเต็มความสามารถ




สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth)

ไทยเบฟน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มาเป็นแนวทางในการพัฒนาความยั่งยืน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) 17 ข้อ

นางต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าความสำเร็จของการขับเคลื่อนองค์กรผ่านแผนการดำเนินธุรกิจ PASSION 2025 นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างยิ่งกับการมีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ การพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน และการกำกับดูแลองค์กรและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เรามั่นใจว่าเรามีส่วนร่วมในทุกๆ ด้านของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ทั้งในฐานะผู้ว่าจ้าง องค์กรที่ดีของสังคม และผู้นำธุรกิจในภูมิภาค”

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟถูกขับเคลื่อนด้วย 3 เสาหลัก โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนดังต่อไปนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการดำเนินงานของกลุ่ม (Scope 1) และจากพลังงานที่กลุ่มซื้อมา (Scope 2) ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2583

  • คืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชนให้ได้ 100% ภายในปี 2583

  • ส่งมอบผลกระทบสุทธิเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้านสังคม

  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานให้ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 90% ภายในปี 2573

  • 80% ของรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ต้องมาจากเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพภายในปี 2573

  • แบ่งปันและสร้างคุณค่าแก่สังคมผ่านเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชนและสังคม

การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล

  • วางมาตรฐานด้านการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทั้งกลุ่มไทยเบฟ

  • 100% ของคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ต้องมีการจัดทำและบังคับใช้จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าของตนเอง

  • ผสานความร่วมมือสู่ผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล

เราได้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนผ่านหลากหลายโครงการสำหรับการดำเนินงานในประเทศไทย โดยในปี 2564 ไทยเบฟบรรลุเป้าหมายแล้วดังนี้

  • บรรลุเฟสที่ 1 ของโครงการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของโรงงาน (Solar Rooftop) ในไทย 5 แห่ง

  • ขยายโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเป็น 7 แห่ง สำหรับผลิตพลังงานความร้อนจากการเผาน้ำกากส่าซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในโรงงานแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

  • เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในองค์กรเป็น 41.8%

  • ลดการใช้น้ำลง 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับพื้นที่ที่มีการดึงน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้มาก (water-stressed area)

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1 และ Scope 2 ลงได้ 9.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน

  • เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 เป็นครั้งแรก โดยมีหน่วยงานภายนอกร่วมยืนยัน

  • นำขยะอาหารและของเสียอื่นๆ จำนวน 60.2% กลับมาใช้ใหม่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

  • นำบรรจุภัณฑ์สินค้าจำนวน 82% กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล (Reuse and Recycle)

หนึ่งในความภาคภูมิใจของเราคือการที่ไทยเบฟได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มภายใต้ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ถึง 4 ปีติดต่อกัน โดยในปี 2564 ไทยเบฟได้คะแนน 90 จาก 100 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในบรรดาบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันที่เข้าร่วมรับการประเมิน โดยได้คะแนนสูงสุดในด้านสังคม การกำกับดูแล และเศรษฐกิจ และได้คะแนนสูงเป็นอันดับสองในด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืน DJSI World เป็นปีที่ 5 และ DJSI Emerging Markets เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน

นอกจากนี้ เรายังมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชารัฐรักสามัคคี ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชน เพื่อสร้างโอกาสให้กับชุมชนท้องถิ่น สร้างอาชีพและรายได้ รวมถึงเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับเยาวชน โดยมุ่งเน้นการทำงานใน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ ภาคการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า และการท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนแล้วมากกว่า 1,690 ล้านบาท โดยในปี 2564 ไทยเบฟได้ดำเนินกิจกรรมมากมายภายใต้โครงการประชารัฐรักสามัคคี เช่น โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย และโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย

ไทยเบฟขอตั้งมั่นว่าจะร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิดต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการแสวงหาการเติบโตและความมั่นคงทางธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต”




กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล

ดร. เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า
“จากการที่ไทยเบฟดำเนินธุรกิจในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีเป้าหมายที่จะทำให้อาเซียนเป็นเหมือนกับบ้านที่อบอุ่นของบุคลากรทุกคนของเรา และมีความประสงค์ที่จะส่งมอบโอกาสในการพัฒนาและความก้าวหน้าให้กับพนักงานด้วยการสร้างทักษะ (Reskill) และเสริมทักษะ (Upskill) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของไทยเบฟในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน โดยเราไม่หยุดนิ่งในการวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กรจากภายใน ตามแนวคิดโอกาสไร้ขีดจำกัด (Limitless Opportunities)”

ภายใต้แนวคิด “โอกาสไร้ขีดจำกัด” ไทยเบฟมอบโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในองค์กร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เราสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับได้ร่วมกำหนดแนวทางพัฒนาตนเองด้วยแผนการพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ผ่านระบบ Beverest โดยพนักงานสามารถเลือกผลของการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ได้ รวมทั้งสามารถจัดการและดำเนินการตามแผนด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย

หนึ่งในความภาคภูมิใจจากความพยายามในการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลด้านการพัฒนาสายอาชีพคือการที่ไทยเบฟได้รับเลือกให้ได้รางวัล Gold Award ในด้าน HR Excellence in Learning and Development ในปี 2565 นอกจากนี้ยังคว้ารางวัลอื่นๆ ดังนี้

  • HR Asia Best Companies to Work For (ได้รางวัลเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน)

  • HR Excellence in Learning and Development (Gold Award)

  • HR Excellence in COVID-19 Response (Gold Award)

  • Silver Award in HR Innovation (จากนวัตกรรมด้านการพัฒนาสายอาชีพ ที่ครอบคลุม 22 กลุ่มงาน และ 138 กลุ่มงานย่อย)

ไทยเบฟมุ่งมั่นในการเป็นหนึ่งในองค์กรที่ดีที่สุดในภูมิภาคสำหรับพนักงาน และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าความพึงพอใจในงานและความก้าวหน้าในสายอาชีพจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ส่งเสริมให้พนักงานเกิดความผูกพันและทำงานกับองค์กรได้อย่างยาวนาน




เกี่ยวกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่ม”) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้ประกอบการเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยบริษัทมีวิสัยทัศน์คือการเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไทยเบฟเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2549 และได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศผ่านการเข้าซื้อบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (“F&N”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศสิงคโปร์ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ในปี 2560 ไทยเบฟได้เสริมสร้างธุรกิจในภูมิภาคนี้ให้แกร่งยิ่งขึ้นด้วยการเข้าซื้อหุ้นในแกรนด์ รอยัล กรุ๊ป (“GRG”) ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาดวิสกี้ของเมียนมา และหุ้นในบริษัทไซ่ง่อน เบียร์-แอลกอฮอล์-เบฟเวอเรจ
คอร์เปอเรชั่น (“ซาเบโก้”) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ส่งผลให้ไทยเบฟก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดในด้านปริมาณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปัจจุบัน ธุรกิจของไทยเบฟประกอบด้วย 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร  โดยในประเทศไทย กลุ่มมีโรงกลั่นสุรา 19 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 20 แห่ง และมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ครอบคลุมจุดขายกว่า 500,000 จุดทั่วประเทศ อีกทั้งยังจำหน่ายสินค้าครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีโรงกลั่นสุรา 5 แห่งในสก็อตแลนด์ ซึ่งใช้ในการผลิตสุราซิงเกิ้ลมอลต์ เช่น บัลแบลร์ (Balblair) โอลด์ พุลท์นีย์ (Old Pulteney) และสเปย์เบิร์น (Speyburn) นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตเครื่องดื่ม 2 แห่งในเมียนมา และโรงกลั่นสุราอีก 1 แห่งในจีนซึ่งผลิตสุราจีนชื่อดังอย่างอวี้หลิงฉวน (Yulinquan)

กลุ่มผลิตภัณฑ์สุราที่มีชื่อเสียงของไทยเบฟประกอบด้วย รวงข้าว หงส์ทอง เบลนด์ 285 แสงโสม แม่โขง และ
แกรนด์ รอยัล วิสกี้ นอกจากนี้ เบียร์ช้างซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์หลัก ยังเป็นหนึ่งในเบียร์ของไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มี Bia Saigon และ 333 ของซาเบโก้ ซึ่งเบียร์ที่มียอดขายเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศเวียดนาม สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยเบฟมีตราสินค้าชั้นนำ ได้แก่ ชาเขียวโออิชิ เครื่องดื่มอัดลมเอส โคล่า นํ้าดื่มคริสตัล เครื่องดื่มอัดลม F&N และเครื่องดื่มเกลือแร่ 100PLUS นอกจากนี้ ไทยเบฟยังดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น รวมทั้งอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และได้ขยายธุรกิจอาหารผ่านบริษัทย่อย คือ ฟู้ด ออฟ เอเชีย และธุรกิจ
แฟรนไชส์เคเอฟซี ซึ่งเป็นร้านอาหารบริการด่วนที่ได้รับความนิยมที่สุดในประเทศไทย

ไทยเบฟเป็นหนึ่งในสิบบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในหุ้นที่ใช้อ้างอิงในดัชนีสเตรทส์ไทม์ (“STI”) นอกจากนี้ ไทยเบฟยังเป็นสมาชิกของกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (“DJSI”) และเป็นสมาชิก DJSI World Index และ DJSI Emerging Markets Index

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad