ผ่อนคลายล็อคดาวน์ หนุนดัชนีฯเชื่อมั่นอุตฯ เพิ่มต่อเนื่องเดือนที่ 3 ยื่น 3 ข้อเสนอ เตรียมป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ศก.-อำนวยความสะดวกแรงงาน ต่างด้าว-ออกมาตรการบรรเทาปรับขึ้นค่าไฟ - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

ผ่อนคลายล็อคดาวน์ หนุนดัชนีฯเชื่อมั่นอุตฯ เพิ่มต่อเนื่องเดือนที่ 3 ยื่น 3 ข้อเสนอ เตรียมป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ศก.-อำนวยความสะดวกแรงงาน ต่างด้าว-ออกมาตรการบรรเทาปรับขึ้นค่าไฟ

 


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
 (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 90.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 89.0 ในเดือนกรกฎาคม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยในประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้นและภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากความต้องสินค้าภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวมีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังการยกเลิก Thailand Pass รวมถึงมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกันช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศ 

 

แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่เผชิญปัญหาเงินเฟ้อ ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนชิป ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์บางรุ่น เป็นปัจจัยลบต่อภาคการส่งออกของไทย นอกจากนี้ผู้ประกอบยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากราคาวัตถุดิบ อาทิ อาหารสัตว์ เหล็กและอลูมิเนียม ค่าไฟฟ้า รวมถึงต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่ทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าในเดือนสิงหาคมต้นทุนด้านราคาน้ำมันจะปรับตัวดีขึ้นก็ตาม ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนต่างด้าวในภาคการผลิต 

 

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,304 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2565 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 75.9 สถานการณ์การเมือง ร้อยละ 42.8 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 39.3 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 35.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความกังวล ลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 77.6 เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 45.9 สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ร้อยละ 48.7 และ ตามลำดับ  

สำหรับดัชนีฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 98.7 ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวแบบช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่ำ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้ารอบใหม่ในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 จะส่งผลให้ต้นทุนประกอบการสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย 

 

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ  

  1. เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และการปรับขั้นค่าจ้าง ขึ้นต่ำ อาทิ การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ใผู้ประกอบการ SMEs,สนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ  
  2. อำนวยความสะดวกในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตมากขึ้น  
  3. ภาครัฐควรเตรียมมาตรการรับมือเพื่อป้องกันผลกระทบกรณีเกิดอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งควรมีแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและน้ำแล้ง  

 

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมูลดังกล่าวได้ที่ www.fti.or.th/ids  

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมุ่ง “เสริมสร้างความเข็มแข็งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad