โพล ส.อ.ท. หนุนทบทวนปรับขึ้นค่า Ft - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

โพล ส.อ.ท. หนุนทบทวนปรับขึ้นค่า Ft

 


วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 16 ในเดือนมีนาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “โพล ส.อ.ท. หนุนทบทวนปรับขึ้นค่า Ft” จากสมาชิก ส.อ.ท. จำนวน 460 บริษัท พบว่า จากผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ตลอดจน วิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่สงครามยังคงยืดเยื้อ ทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นและส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังคงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตในช่วงนี้ เช่น การทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Float time: Ft) ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต ส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ผลักดันระบบการจ่ายค่าแรงตามทักษะ (Pay by Skill) สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นต้น



รสำรวจ FTI Poll ครั้งนี้ เป็นการสำรวจความเห็นจากสมาชิก ส.อ.ท. ที่เข้าร่วมประชุมสามัญ ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 โดยสอบถามสมาชิกเกี่ยวกับข้อเสนอที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการใน 5 เรื่อง ซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 460 ท่าน ครอบคลุมผู้ประกอบการจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 16 จำนวน 5 คำถาม ดังนี้

1.  ภาครัฐควรดำเนินมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากราคาพลังงานแพงอย่างไร
อันดับที่ 1 : ทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) 68.30%
อันดับที่ 2 : ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า 57.60%
อันดับที่ 3 : สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร/อุปกรณ์ 55.00%
               เพื่อการประหยัดพลังงาน
อันดับที่ 4 : เพิ่มสิทธิประโยชน์ BOI สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทน 50.90%
               ให้สามารถยกเว้นภาษีได้ 100% ของเงินลงทุน
อันดับที่ 5 : โครงการคืนผลประหยัดไฟฟ้าที่ลดได้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand Response) 48.50%

2.  ภาครัฐควรดำเนินการแก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน และวัตถุดิบแพงอย่างไร
อันดับที่ 1 : ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต 63.90%
อันดับที่ 2 : ปลดล๊อคเงื่อนไขและโควต้าการนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะในวัตถุดิบที่ขาดแคลน 63.00%
อันดับที่ 3 : ควบคุมและดูแลราคาสินค้าไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับราคาเกินจริง 53.50%
อันดับที่ 4 : สนับสนุนให้ผู้ส่งออกวัตถุดิบขาดแคลนให้มาจำหน่ายภายในประเทศก่อน 46.70%
อันดับที่ 5 : สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ 42.40%
               เพื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ

3.  ภาครัฐควรดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคด้านการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร
อันดับที่ 1 : ส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) 71.10%
               ในภูมิภาค เช่น ทางราง, ทางเรือ เป็นต้น
อันดับที่ 2 : เร่งการเชื่อมโยงใบอนุญาต/ใบรับรองต่างๆ ของกลุ่มสินค้าหลัก 57.60%
               ในระบบ National Single Window (NSW)
อันดับที่ 3 : ส่งเสริมและพาผู้ประกอบการออกไปเปิดตลาดที่ไทยมีศักยภาพ 57.20%
อันดับที่ 4 : ผลักดันการเปิดด่านชายแดนที่ถูกปิดช่วงโควิดและยกระดับด่านชายแดน 54.60%
               เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า
อันดับที่ 5 : ผลักดันการใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local currency) ในการค้าขายผ่านชายแดน 27.20%

4.  ภาครัฐควรปรับปรุงการบริหารจัดการแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างไร
อันดับที่ 1 : ผลักดันระบบการจ่ายค่าแรงตามทักษะ (Pay by Skill) แทนค่าแรงขั้นต่ำ 71.10%
อันดับที่ 2 : เร่งพิจารณาเปิดการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย 60.00%
               ให้ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง
อันดับที่ 3 : ขอให้ภาครัฐหารือกับรัฐบาลประเทศต้นทางในระดับรัฐมนตรีเพื่อเร่งรัดการนำเข้า 54.60%
               แรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU โดยเร็ว
อันดับที่ 4 : ปรับลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าแรงงานต่างด่าว เช่น ค่าตรวจ COVID-19 51.70%
               เปลี่ยนการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เป็นการตรวจด้วยวิธี ATK, ลดค่าสถานที่กักตัว
               และลดระยะเวลากักตัว เป็นต้น
อันดับที่ 5 : พิจารณาปรับขั้นตอนการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU 49.80%
               ให้มีความรัดกุม เพื่อป้องกันการแย่งคนงานระหว่างผู้ประกอบการ

5.  ภาครัฐควรเร่งดำเนินมาตรการใดเพื่อส่งเสริมการเปิดประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
อันดับที่ 1 : สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยว 64.10%
อันดับที่ 2 : ปรับกระบวนการออกใบอนุญาต Work permit เพื่ออำนวยความสะดวก 60.40%
               และดึงแรงงานทักษะสูงเข้ามาทำงานในประเทศ
อันดับที่ 3 : ผ่อนปรนเงื่อนไขและเพิ่มมาตรการจูงใจนักลงทุนศักยภาพให้เข้ามาลงทุน 60.20%
               และอาศัยในประเทศ (Long Stay)"
อันดับที่ 4 : เร่งพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Capital Gain Tax) 53.00%
               สำหรับธุรกิจ Start up ให้มาลงทุนในไทยมากขึ้น
อันดับที่ 5 : ยกเลิกมาตรการ Test & Go และอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ 50.00%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad