ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สร้างโมเดลธุรกิจใหม่สุดเจ๋ง มอบทุนผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่สายโลจิสติกส์ ปั้นเป็นเถ้าแก่น้อยมาช่วยขยายธุรกิจ เพื่อเป็นหนึ่งใน New S-Curve ใหม่ภายใน 5 ปี - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สร้างโมเดลธุรกิจใหม่สุดเจ๋ง มอบทุนผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่สายโลจิสติกส์ ปั้นเป็นเถ้าแก่น้อยมาช่วยขยายธุรกิจ เพื่อเป็นหนึ่งใน New S-Curve ใหม่ภายใน 5 ปี


 กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2565 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในโครงการ “ผลิตบัณฑิตปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ แขนงวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี” ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (SSRU) และบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO โดยมี รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม 

 


ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยทาง  SSRU จะมีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจพาณิชยนาวี การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้กับนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา ในส่วนของ  LEO จะรับผิดชอบ รับนักศึกษาเข้ามาฝึกฝนและปฏิบัติงานจริงที่บริษัทฯ และสนับสนุนทุนการศึกษาและเบี้ยเลี้ยงในการทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ปี 1 เทอม ของการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาและผ่านการการทดลองงานแล้วก็บรรจุเป็นพนักงานประจำของ LEO  

 

นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์จำกัด (มหาชน) หรือ LEO ได้เปิดเผยในงานพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า โครงการมอบทุนการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการจัดการซัพพลายเชนธุรกิจ ในครั้งนี้เราออกแบบมาเพื่อรองรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบทำงานเป็นลูกจ้างของใคร และอยากเป็นเจ้าของกิจการมากกว่า เราจึงคิดสร้าง Business Model ใหม่ที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเป็นเถ้าแก่น้อย หรือนักธุรกิจอิสระภายใต้การสนับสนุนของ LEO  ซึ่งเราไม่ได้ให้พวกเขาเพียงแค่โอกาสในการสร้างธุรกิจร่วมกันกับ LEO แต่เราจะทำการคัดเลือกนักศึกษาในต่างจังหวัด ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ในสาขาธุรกิจโลจิสติกส์ มี Passion ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ มาฟูมฟักและให้การศึกษาในระดับปริญญาตรี พร้อมๆกับการฝึกงานไปด้วยตลอดระยะเวลา ปี เทอมที่เรียน เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาเป็นสายพันธ์ของคนรุ่นใหม่ในองค์การที่มี DNA ของ LEO อย่างเต็มตัว และเปิดกาสให้พวกเขามาช่วยกันพัฒนาและขยายธุรกิจร่วมกับ LEO  โดยมีเป้าหมายที่ทำให้โครงการนี้เป็นหนึ่งในหลายๆโครงการของ LEO ที่จะสามารถสร้าง New      S-Curve ใหม่ให้กับธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอันป็นธุรกิจหลัก LEO  ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนและมี Business Model ที่ตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่ 

 

โดยในปี 2561  ที่ผ่านมา LEO ได้เริ่มโครงการมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ร่วมกับทางสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) และทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการสร้างบุคลากรที่เป็น DNA ของบริษัทฯ ได้อย่างแท้จริง จำนวน 8 คน ด้วยเหตุนี้  ทางบริษัทฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์จากโครงการนี้ จึงได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต่อเนื่องเป็นโครงการที่   โดยบริษัทฯมีความตั้งใจที่จะมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้ 10 ทุน แต่หากว่ามีจำนวนนักศึกษาที่มีคุณภาพผ่านการคัดเลือกมากกว่า 10 คน บริษัทฯ ก็อาจที่จะพิจารณาเพิ่มจำนวนของทุนการศึกษาสำหรับโครงการนี้ได้ 

 

ด้าน รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า ทาง SSRU มีความยินดีอย่างยิ่ง การร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมานานกว่า 31 ปี  ที่ให้ความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร อีกทั้งยังให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาและสถานที่ฝึกงานพร้อมด้วยเบี้ยเลี้ยงให้กับนักศึกษาตลอดระยะเวลาโครงการ ปี เทอม การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเรียนออนไลน์ เรียนได้จากทุกที่ และตามเวลาที่สะดวกผู้เรียนจะสามารถเลือกที่จะเรียนเพื่อความรู้เพียงอย่างเดียวหรือจะเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตไปจนถึงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ก็ได้เช่นเดียวกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad