YLGเผยที่มาช่วงหุ้นลงหนักกระทบทองระยะสั้นเหตุนลท.ขายทองโยกเงินเติมมาร์จิ้น ระยะยาวทองคำยังไปต่อปัจจัยบวกยังแน่น ทั้งดอกเบี้ยขาลง-การเมืองโลกปั่นป่วน - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

YLGเผยที่มาช่วงหุ้นลงหนักกระทบทองระยะสั้นเหตุนลท.ขายทองโยกเงินเติมมาร์จิ้น ระยะยาวทองคำยังไปต่อปัจจัยบวกยังแน่น ทั้งดอกเบี้ยขาลง-การเมืองโลกปั่นป่วน

วายแอลจีไขข้อข้องใจทำไมทองตกพร้อมตลาดหุ้นดิ่ง เหตุนักลงทุนในหุ้นโดนเรียกหลักประกันเพิ่ม จำเป็นต้องขายทองเพื่อนำเงินไปเติมหลักประกัน มองระยะสั้นหุ้นยังมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่อง แต่หากเทียบประวัติศาสตร์ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ทองคำจะฟื้นตัวไวกว่าตลาดหุ้น และช่วงดอกเบี้ยติดลบผลตอบแทนจากทองคำจะสูงกว่าดอกเบี้ยถึง เท่า ส่วนปัจจัยบวกทองคำปีนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยเศรษฐกิจที่เสี่ยงเผชิญภาวะถดถอยจาก Covid-19 นโยบายดอกเบี้ยต่ำ และความไม่สงบทางการเมืองทั่วโลกยังหนุนราคาทองให้ไปต่อ เพียงแต่ต้องรอให้ตลาดกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนเทคนิคการลงทุนระยะสั้นแนะขายทำกำไรที่ 1,558-1,593 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนนักลงทุนระยะยาวรอทยอยสะสมที่แนวรับ 1,445 ดอลลาร์ต่อออนซ์
นางพวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) ผู้นำเข้าและส่งออกทองคำแท่งรายใหญ่ของไทยเปิดเผยว่า เปิดเผยว่าในสัปดาห์นี้ราคาทองคำถือว่ามีความผันผวน โดยราคาได้ปรับลดลงที่ระดับต่ำสุดที่ 1,451.08 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดครั้งใหม่ของปี 2563 สาเหตุของการปรับลดลงของราคาทองคำนั้นสร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่าย เนื่องจากปกติหากตลาดหุ้นปรับลดลง จะมีแรงซื้อเข้ามาในทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยส่งผลให้ราคาทองปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามครั้งนี้แตกต่างออกไป  เพราะตลาดหุ้นลงแรงจนเข้าสู่ภาวะขาลงอย่างเป็นทางการ ทำให้นักลงทุนเผชิญกับการถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม นักลงทุนจึงจำเป็นต้องเทขายทองคำออกมา เพื่อนำเงินไปเติมหลักประกัน รวมถึงชดเชยผลขาดทุนในตลาดหุ้นรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่มีสถาบันการเงินของสหรัฐประกาศปิดตัวในช่วงเดือยก.ย.ปี 2551 ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงอย่างหนัก และทองคำก็ปรับตัวลดลงแรงเช่นกัน อย่างไรก็ดี หลังจากที่เฟดได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยและใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ก็ส่งผลให้ราคาทองทะยานขึ้นอย่างมากจนกระทั่งขึ้นไปทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2554  ส่วนทางด้านตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอีกหลายเดือนก่อนที่จะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมา  หากประวัติศาสตร์ซ้ำรอย  คาดว่าความต้องการถือเงินสดในหมู่นักลงทุนอาจกดดันให้เกิดแรงขายในตลาดทองคําไปอีกสักระยะ  เมื่อความตื่นตระหนกในตลาดบรรเทาเบาบางลง นักลงทุนจะกลับมาพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานต่างๆและกลับเข้ามาซื้อทองคำในที่สุด
ทั้งนี้ หากพิจารณาในด้านปัจจัยพื้นฐาน จะพบว่าปัจจัยสนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นยังอยู่ครบถ้วน  ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว อันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัส Covid-19  จนทำให้เกิดการวิตกว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย  นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั่วโลก  จึงเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะธนาคารกลาสหรัฐ(เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม เพื่อรับมือผลกระทบจาก Covid-19  ซึ่งจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับทอง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  นอกจากนี้ งานวิจัยของสภาทองคำโลก ระบุว่า ผลตอบแทนจากทองคำ ในช่วงดอกเบี้ยติดลบ จะสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวของราคาทองคำถึง เท่า รวมถึงปัจจัยความไม่สงบทางการเมืองทั่วโลกก็ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทอง
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย มองว่าในระยะสั้น ควรหาจังหวะขายทำกำไรออกไปก่อนเพราะราคายังมีโอกาสผันผวนต่อเนื่อง แล้วค่อยกลับเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อตลาดกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนนักลงทุนระยะสั้นและกลางที่รับความเสี่ยงได้สูง ควรหาจังหวะซื้อที่แนวรับ 1,451-1,445 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,445 ดอลลาร์ต่อออนซ์พื่อขายกำไรบริเวณแนวต้าน 1,558-1,593 ดอลลาร์ต่อออนซ์   สำหรับนักลงทุนระยะยาว แนะนำทยอยเข้าซื้อที่แนวรับ 1,445 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และควรเผื่อเงินลงทุนไว้สำหรับการทยอยสะสมเพิ่มหากราคาปรับตัวลงไปบริเวณ 1,400-1,381 ดอลลาร์ต่อออนซ์
 นักลงทุนสามารถปรึกษาด้านการลงทุนทองคำกับ YLG ได้ทางโทรศัพท์ 02-687-9888  รวมถึงสามารถติดตามบทวิเคราะห์  อัพเดทข่าวสารที่ส่งผลต่อราคาทองคำ  ข่าวโปรโมชั่น  สัมมนา  และข่าวประชาสัมพันธ์ของ YLG ผ่านทางหลากหลายช่องทาง  อาทิ   www.ylgbullion.co.th และ https://www.facebook.com/YLGGroup

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad