สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่ วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิ จิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) จัดงาน "Law ฟัง YOU" เพื่อให้ภาคประชาชนแสดงความคิ ดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์ มการแสดงความคิดเห็ นทางกฎหมายใหม่ที่มีประสิทธิ ภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ ใช้งานทุกเพศ ทุกวัย อัน เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่ วมของภาคประชาชนต่อการผ่านร่ างกฎหมายของพลเมืองตามวิถี ประชาธิปไตย
ด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนู ญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 6 แนว นโยบายแห่งรัฐ มาตรา 77 ความตอนหนึ่งว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงให้มีการรับฟังความคิดเห็ นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้ นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็ นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟัง ความคิดเห็นและ การวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิ จารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้ นตอน”
การร่วมมือระหว่างสำนั กงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อให้เกิดการดำเนิ นการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์ การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิ นผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย พ.ศ. 2562 อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดทำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและเครือข่ายเชื่ อมโยงในลักษณะของระบบกลาง เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมู ลทางด้านกฎหมายของประเทศ รวมถึงเป็นช่องทางสำหรับรับฟั งความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการดำเนินการจั ดทำกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางกฎหมายด้วย ซึ่งช่องทางนี้จะเป็นอีกช่ องทางหนึ่งของประชาชนและภาคส่ วนต่างๆ ในการมีส่วนร่วมและติ ดตามตรวจสอบการดำเนินการของหน่ วยงานภาครัฐในกระบวนการที่เกี่ ยวข้องกับกฎหมายของประเทศได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ริ เริ่มช่องทางกลางสำหรั บการแสดงความคิดเห็ นของประชาชนต่อร่าง กฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ www.Krisdika.go.th แต่ช่องทางดังกล่าวยังไม่ สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานเท่าที่ ควร ดังนั้นเพื่อให้ช่องทางดังกล่ าวมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่ มผู้ใช้งานในวงกว้างมากยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึ งได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนารั ฐบาลดิจิทัลจัดงาน LAW ฟัง YOU เปิดโอกาสให้ ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาชาอาชีพได้มาเสนอแนวคิ ดและนวัตกรรมเพื่อผลิกโฉมปฏิรู ประบบการแสดงความคิดเห็นร่ างกฎหมายให้ทันสมัยและนำไปสู่ การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่ างแท้จริง ผ่านกระบวนการการ ออกแบบ User Experience ที่เน้นผู้ใช้งานเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้ านกฎหมาย ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม มาให้ความรู้เพื่อต่อยอดพั ฒนาแนวคิดของผู้เข้าร่วมงานให้ สามารถนำไปใช้เพื่อสร้ างความเปลี่ยนแปลงให้กับสั งคมได้อย่างยั่งยืน
นับว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของภาครั ฐที่พร้อมเปิดรับความคิดเห็ นและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการมีส่ วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย โดยอาศัยการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน การผลักดันในประเทศไทยเข้าสู่สั งคมดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้ าถึงข้อมูลของรัฐรวมถึ งสามารถแสดงความ คิดเห็น และใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น